HIGHLIGHTS:

  • การระดมสมองระดมความคิดไม่ใช่หนทางแห่งการสร้างนวัตกรรม แต่ในกระบวนการต่อยอด ประคับคองและผลักดันให้นวัตกรรมเกิดขึ้นจริงและออกไปสู่การรับใช้ผู้คนได้จะต้องอาศัยการระดมสมอง ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการสร้างนวัตกรรมไม่ใช่การระดมสมอง แต่กลับเป็นความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้และมีเหตุมีผลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายบุคคลต่างหาก
  • นวัตกรรมส่วนมากไม่ได้ล้มเหลวจากการขาดความคิดสร้างสรรค์ แต่มักล้มเหลวเพราะขาดความเข้าใจในวิธีการมากกว่า
  • นวัตกรรมไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องการสร้างสิ่งใหม่ แต่อาจรวมหมายถึงการปรับเปลี่ยนพัฒนาสิ่งเก่าให้ดีขึ้นกว่าเดิมและสามารถค้ำจุนองค์กรไปได้อีกยาวนาน

 

     ไรอัน พิคเกลผู้มีความสามารถด้านนวัตกรรมและการออกแบบพร้อมทีมงานได้ร่วมมือกับบริษัทให้คำปรึกษาDublinในชิคาโก้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยการสร้างนวัตกรรมของอุตสาหกรรมในส่วนของการผลิตและการบริการโดยใช้วิธีการระดมสมอง(Brainstorm)พวกเขาพบว่า95%ของการ สร้างนวัตกรรมด้วยวิธีนี้นั้นล้มเหลวหรืออาจพัฒนาขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และมักจะคิดไปเองว่ามันต้องดีขึ้นมากแน่ๆในอนาคต

time-for-a-change-eb35b00a29_640เมื่อเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงองค์กรมาถึง

     บริษัททุกบริษัท องค์กรทุกองค์กรล้วนต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเดินต่อไปข้างหน้าทั้งสิ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้ก่อเกิดเพียงระดับล่างขององค์กรเท่านั้น แม้แต่ระดับผู้บริหารหรือ CEO ที่เก่งกาจในศาสตร์แห่งการจัดการสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การตลาด หรือการขนส่ง ยังต้องยอมทนสนใจในเรื่องที่พวกเขาคิดไว้ก่อนหน้านี้ว่าเป็นเรื่องไร้สาระต่างๆนานา เทคโนโลยีพัฒนาเดินหน้าไปอย่างไม่หยุดนิ่งและได้เข้าไปมีบทบาทในชีวิตของผู้คนมากยิ่งขึ้น แทรกซึมเข้าไปสู่องค์กรต่างๆฉะนั้น จึงไม่มีใครหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงได้ และเมื่อเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงมาถึงก็คงไม่มีใครต้องการการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้องค์กรหยุดนิ่งหรือถอยหลัง ทุกองค์กรทุกบริษัทล้วนแต่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทั้งสิ้น ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงไปในเชิงบวกแบบนี้ก็คือการสร้างนวัตกรรมอีกอย่างหนึ่ง คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า สูตรสำเร็จของการสร้างนวัตกรรม สามารถเกิดได้จากการระดมสมอง(Brainstorm) เพราะการระดมสมองช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาสิ่งต่างๆแต่ในการระดมสมองนั้นผู้ร่วมระดมสมองมักจะพูดเสมอว่า “ไอเดียทุกอย่างดีและเป็นประโยชน์ทั้งนั้น” แต่ทั้งๆที่คุณหรือหลายคนในที่ประชุมก็อาจจะรู้อยู่แล้วว่าไม่เข้าท่า แต่ก็ต้องยอมรับความคิดเห็นอันหลากหลายที่คะแนนเสียงส่วนใหญ่บอกแล้วว่าดี บางคนอาจจะคิดว่าการสร้างนวัตกรรมมักเกิดขึ้นในห้องทดลอง หรือสถานที่เฉพาะอย่างสถาบันวิจัยต่าง ๆ อันเป็นสถานที่ที่น่าจะเหมาะสำหรับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆโดยเฉพาะ  แต่แท้ที่จริงแล้วที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการสร้างความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาเท่านั้น แต่ยังไม่ใช่วิธีการสร้างนวัตกรรม เรามักจะเห็นการระดมสมองนั้นมีรูปแบบคล้ายๆกัน เช่น เอาคนมารวมกันอยู่ในห้อง เทบรรดาสิ่งของต่างๆไม่ว่าจะเป็นของเล่น ปืนยิงลูกบอล กระดาษโน้ต(Post-it) ปากกา ขนม ของกินแปลกๆ และอ้างว่าการสร้างนวัตกรรมเกิดจากการปลดปล่อยความคิดอย่างอิสระและใช้กระดาษโน้ตกับปากกามาร์กเกอร์ขีดๆ เขียนๆจับโน่นผสมนี่ เพราะเชื่อว่ามันคือสิ่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการสร้างสรรค์ไอเดีย จนของเหล่านี้แทบจะเป็นเครื่องประกอบพิธีกรรมในการประดิษฐ์นวัตกรรมกันเลยทีเดียว

ระดมสมองเป็นสิ่งดีแต่ไม่ได้ช่วยสร้างนวัตกรรม

      การระดมสมองในรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นรูปแบบที่เห็นได้ทั่วไป ในบริษัทต่างๆ จริงอยู่ว่า “มันช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ” ขึ้นได้ แต่กระบวนการนี้ไม่ใช่ที่จะช่วยสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้ แนวทางแห่งการสร้างนวัตกรรมที่แท้จริงจะต้องมีกระบวนการ

  • วิเคราะห์
  • พัฒนา
  • ส่งเสริมต่อยอด
  • ลดความเสี่ยง
  • เปิดให้ใช้งานจริงในวงกว้าง
  • ปรับปรุงจุดบกพร่อง

หากการระดมสมองในห้องประชุมไม่ได้มีกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นเลย นั่นเท่ากับว่าคุณกำลังหลงออกจากแนวทางแห่งการสร้างนวัตกรรมที่แท้จริงไปเสียแล้ว

เปลี่ยนจากสิ่งที่เพ้อฝันสู่ความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์

     การจะสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้จริงๆในประเทศไทยเรานั้น สิ่งแรกก็คือ ต้องพยายามให้ผู้ประกอบการ “คิดอย่างเป็นระบบ” เสียก่อน นี่คือหนทางก้าวแรกที่จะนำไปสู่จุดหมายที่คิดไว้ แนวทางการสร้างนวัตกรรมนั้น ไม่ได้มีหลักสูตรตายตัวแน่นอน ไม่ได้มีมาตรฐานที่แน่ชัดเสมอไป ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากความคิดสร้างสรรค์ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่ความคิดนั้นจะหายไปในที่สุดถ้าไม่ได้มีการจัดระบบความคิดตามกระบวนการข้างต้น

     การสร้างนวัตกรรมสำหรับองค์กรแล้วมีความหมายมากกว่าการสร้างสิ่งใหม่ เพราะยังมีความหมายถึงการพัฒนาเพื่อพาบริษัทให้รอดพ้นและเติบโตท่ามกลางปัญหาที่รุมล้อมองค์กรอยู่ในขณะนั้นด้วย คุณจงพึงตระหนักว่าไม่มีสิ่งใดอยู่ค้ำฟ้า บริษัทที่มีชื่อเสียงโด่งดังอาจจะประสบความล้มเหลวหากไม่สานต่อความคิดที่มีแนวโน้มที่จะเป็นนวัตกรรมขององค์กรในอนาคต เพราะ “ถ้าคุณก้าวไม่ทันความต้องการของตลาด คุณก็เหมือนกับตายไปแล้วทั้งที่ยังมีลมหายใจอยู่” ดังนั้น การสร้างสรรค์นวัตกรรมมีความจำเป็นต่อการดำรงอยู่ขององค์กร และเพราะความจำเป็นนี้เองที่กระตุ้นให้เราทำความรู้จักกับมันลองผิดลองถูกเพื่อเรียนรู้ว่ามันมีรูปแบบการพัฒนาอย่างไร เรียนรู้จุดเชื่อมต่อระหว่างสิ่งที่จะทำให้ศาสตร์ด้านนี้ง่ายต่อความเข้าใจ เรียบง่าย และชัดเจนที่สุด จัดเป็นหมวดหมู่ตามรูปแบบและพัฒนาการของนวัตกรรมเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างสะดวก เราหวังว่าบทความนี้ของเราจะช่วยให้คุณคิดอย่างเป็นระบบและเข้าใจเหตุผลของสิ่งที่ทำอยู่ ช่วยลดความผิดพลาดและก้าวเข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้น

 

“นวัตกรรมมาจากการปฏิเสธให้กับสิ่งต่าง ๆนับ 1,000 อย่าง ปฏิเสธจนทำให้เรามั่นใจว่าเราไม่ได้ไปผิดทาง เรามักจะคิดถึงการเจาะตลาดใหม่และสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องทำ แต่ถ้าคุณแค่ปฏิเสธบางสิ่งที่ทำให้คุณหลุดกรอบความคิดสำคัญออกไปได้ อย่างอื่นก็ไม่ต้องกังวลแล้ว”

Steve Jobs

 

กรณีศึกษาที่น่าสนใจ :
โกดัก(Kodak)ที่มีชื่อเสียงเรื่องฟิล์มและกล้องถ่ายภาพที่ทุกคนในโลกยอมรับและใช้งานมาโดยตลอดยังล้มละลายได้ในปี ค.ศ. 2012 เพราะก้าวไม่ทันความต้องการของตลาดที่ผันตัวเข้าสู่ภาพถ่ายดิจิตอล ซึ่งจู่ ๆ ก็เข้าโจมตีอย่างรวดเร็วทำให้บริษัทตั้งหลักไม่ทัน แม้ว่าโกดักจะเป็นผู้บุกเบิกภาพถ่ายดิจิตอลเจ้าแรก โดย Steve Sasson วิศวกรมือดีของโกดัก ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องดิจิตอลต้นแบบตัวแรกขึ้นมาในปี 1975 แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จเพราะเปิดตัวในช่วงที่โลกกำลังอยู่ในยุคอะนาล็อก ผู้คนยังคงใช้ฟิล์มอย่างแพร่หลายนั่นเอง