เริ่มต้นปี 61 มาอย่างเรียบๆเรื่อยๆ มีการคาดการณ์กันว่าเรื่องของการทำธุรกิจ ภาคการส่งออกของไทยปี 61 มีแนวโน้มจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ 4.8% ตามสภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นเฉลี่ย 64 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

     แต่ทว่าพอเข้ามาปี 61 จริงๆเดือนแรกผ่านไป การทำธุรกิจในภาคการส่งออกกลับไปไม่ได้สวยอย่างที่คิด ต้องเผชิญกับปัจจัยที่กระทบต่อการดำเนินงาน ทั้งเรื่องการแข็งค่าของเงินบาทอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี โดยคาดว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นถึง 5% ในปีนี้ รวมทั้งการเคาะอนุมัติการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 1-7% จากปีก่อนขึ้นกับพื้นที่ตั้ง เริ่มมีผลตั้งแต่เดือนเม.ย.นี้

     จากปัจจัยทั้งสองส่วนนี้ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ได้วิเคราะห์ว่า ในภาคธุรกิจส่งออกจะมีกำไรลดลง 0.4% จากภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยจัดกลุ่มธุรกิจที่ได้รับ ผลกระทบออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มธุรกิจได้รับผลกระทบมาก ได้แก่ สินค้าเกษตร เครื่องนุ่งห่ม และเฟอร์นิเจอร์/ชิ้นส่วน เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้พึ่งพารายได้จากการส่งออกสูงและมีการจ้างแรงงานสูง ทำให้กำไรขั้นต้นลดลงจากระดับปกติ 1-3%

2. กลุ่มที่ได้รับผลกระทบเฉพาะด้าน ด้วยลักษณะผลกระทบที่แตกต่างกัน จึงแยกออกมาเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มที่ได้ผลกระทบด้านอัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยางพารา ข้าว และอาหาร ด้วยการพึ่งพารายได้จากการส่งออกที่สูง แต่การจ้างแรงงานต่ำ ทำให้กำไรขั้นต้นลดลงจากระดับปกติ 1-2%
  • กลุ่มที่ได้รับผลกระทบด้านการตลาด ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค กระดาษ/สิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ เนื่องจากธุรกิจถูกกระทบจากต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นเป็นหลัก ทำให้กำไรขั้นต้นลดลงจากระดับปกติ 0.1-0.5%

3. กลุ่มที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด คือ ผู้ผลิตรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์/คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีในปีนี้ กำไรขั้นต้นจึงได้รับผลกระทบน้อยเพียง 0.1% จากระดับปกติ

b3-w9h6-32     ที่น่าเห็นใจก็คือภาคเกษตร เกตรกรและชาวรากหญ้า คงต้องทนเจ็บกันต่อไป ราคาสินค้าเกษตรบางอย่างในช่วงนี้ก็ตกอยู่แล้ว และแนวโน้มเศรษฐกิจยังมาบั่นทอนอีก ก็ต้องตั้งรับกันให้ดีถึงจะไปรอด