HIGHLIGHTS:

แนวทางการสร้างเครือข่ายธุรกิจให้กลายเป็นนวัตกรรม

  • เปิดโอกาสให้องค์กรอื่นหรือบุคคลที่เป็นหุ้นส่วนได้เข้ามาทำงานร่วมกันในการพัฒนาสินค้าและบริการของเรา ขณะที่เปิดรับองค์กรอื่นเข้ามาก็เรียนรู้วิธีการทำงานของพวกเขา ดึงเอาทรัพยากรที่เขามีแต่เราขาดออกมาใช้ให้คุ้มค่ามากที่สุด
  • ฉวยโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าและบริการของบริษัทอื่นเมื่อเขามอบโอกาสมาบ้าง อย่าปิดแคบอยู่กับบริษัทของตนเองเพียงอย่างเดียว แม้บริษัทเปิดรับจะเป็นเพียงบริษัทหรือองค์กรเล็กๆ แต่ก็ไม่แน่เหมือนกันว่าเขาอาจจะมีสิ่งพิเศษบางอย่างที่เราไม่มีและมาช่วยเติมเต็มเราในภายหลังก็ได้
  • หากมีโอกาสร่วมกันพัฒนาสินค้าและบริการร่วมกับบริษัทคู่แข่งจงคว้ามันไว้ เพราะนั่นคือก้าวสำคัญที่จะทำให้เราเรียนรู้จุดอ่อนจุดแข้งของเขา
  • เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าและบริการของบริษัท ไม่ว่าจะเปิดรับตรงๆ หรือเปิดช่องทางการแสดงความคิดเห็นทุกรูปแบบก็ตาม

     ในยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน คุณไม่สามารถทำธุรกิจอย่างโดดเดี่ยวลำพังได้อีกต่อไป ต้องอาศัยพาร์ทเนอร์หรือพันธมิตรทางธุรกิจเข้าช่วย เพราะคุณและบริษัทของคุณเพียงลำพังคงไม่สามารถที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ซับซ้อนมากขึ้นได้อย่างครบถ้วน ซึ่งการมีพันธมิตรทางธุรกิจก็เป็นหนึ่งหนทางของการสร้างนวัตกรรม ที่เราขอเรียกว่า “นวัตกรรมเครือข่าย”

 

สร้างความเข้มแข็งให้องค์กรก็นับเป็นนวัตกรรมเช่นกัน

Strengthen-the-force      โลกธุรกิจในปัจจุบันนั้นแข่งขันกันอย่างรุนแรง เพราะผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงง่ายและเร็ว อีกทั้งก็มีความต้องการที่ลึกซึ้งและซับซ้อนมากขึ้นด้วย จึงไม่แปลกที่สินค้าและบริการเดิมๆที่เรามีและเคยใช้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในวันนั้น จะไม่เป็นที่ต้องการหรือถูกใจผู้บริโภคในวันนี้อีกต่อไปแล้ว ซึ่งทรัพยากรทั้งความรู้ แรงงานและเทคโนโลยีของคุณก็อาจจะมีอยู่จำกัดไม่เพียงพอต่อการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการที่ซับซ้อนของผู้บริโภค และความไม่พร้อมนี้ก็ทำให้บริษัทของคุณไม่มั่นคงได้เหมือนกัน ฉะนั้น ไม่จำเป็นเลยที่คุณจะต้องไปปวดหัวทุ่มงบเพื่อคิดค้นการสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์อะไรใหม่ๆก็ในเมื่อทรัพยากรทุกอย่างของบริษัทไม่พร้อมอย่างนั้น จะเอากำลังที่ไหนไปdesignผลิตภัณฑ์ใหม่ designการบริการใหม่ๆได้ แต่สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ การลงมือสร้างเครือข่ายธุรกิจ หรือการหาพันธมิตรทางธุรกิจที่จะเข้ามาช่วยเติมเต็มบริษัทของคุณให้กลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง ซึ่งการลงมือทำแค่นั้นก็คือการสร้างนวัตกรรมอย่างหนึ่งแล้ว เพราะสิ่งนี้ก็นับเป็นสิ่งแปลกใหม่ในองค์กรของคุณ อาจจะต้องมีการปรับกระบวนการทำงาน หยิบยืมเทคโนโลยี อาศัยสินค้าและช่องทางการขาย หรือบางทีต้องหยิบยืมแบรนด์ของพันธมิตรธุรกิจกันเลยทีเดียว นวัตกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่เลิศเลอ แต่นวัตกรรมควรเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสามารถทำให้คุณและบริษัทของคุณเดินต่อไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนและมั่นคงได้ต่างหาก

 

เชื่อมคนหลายๆคนเข้าด้วยกัน เพื่อ design สิ่งที่ดีกว่า

     เมื่อทรัพยากรของเราทั้งเทคโนโลยีทั้งคน ทั้งเงินทุนของคุณมีจำกัด การหยิบยืมทรัพยากรของผู้อื่นมาใช้เพื่อให้การทำงานของบริษัทคุณไปต่อได้จึงเป็นเรื่องที่ควรทำ เพราะนี่คือการกระจายความเสี่ยง และทำให้คุณมีโอกาสที่จะพัฒนาสินค้าตัวใหม่ การบริการสุดล้ำที่โดนใจผู้บริโภค จนถึงขั้นสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นนวัตกรรมล้ำหน้าได้โดย ดังนั้น การสร้างเครือข่ายธุรกิจหรือการมีพาร์ทเนอร์นั้นเป็นการสร้างนวัตกรรมขององค์กร เพื่อต่อยอดไปสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนโลก การเป็นพาร์ทเนอร์นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นตลอดไปก็ได้ จะเป็นเพียงชั่วคราวก็ไม่ถือว่าผิด ทำโปรเจคใดโปรเจคหนึ่งร่วมกันแค่นั้นก็ได้ อีกประการขอให้จำไว้ว่าการสร้างเครือข่ายธุรกิจไม่จำเป็นต้องยึดเอาบริษัทลูกหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องมาเป็นพันธมิตร คุณอาจดึงบริษัทคู่แข่งเข้ามาเป็นพันธมิตรก็ได้เช่นกันทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาพูดคุยกันไป สิ่งเหล่านี้เป็นการเชื่อมคนหลายๆคนเข้าด้วยกัน เพื่อทำตั้งแต่เรื่องเล็กๆจนถึงการท้าทายระดับโลก ซึ่งในต่างประเทศดำเนินการสร้างนวัตกรรมสไตล์นี้ในองค์กรของตนเองมานานหลายปีแล้ว อย่างองค์กรเอกชนแห่งหนึ่งในอเมริกาได้จัดการแข่งขันที่เรียกว่าแอนซารี เอ็กซ์ ไพรซ์(X-Prize)ขึ้นซึ่งเป้นการแข่งขันระดับนานาชาติในการสร้างยานอวกาศวงโคจรต่ำ ซึ่งมีมีผู้คว้ารางวัลไปในในปี ค.ศ.2004 คือ ทีมนักออกแบบเครื่องบิน เบิร์ท รูตัน กับ ผู้ออกทุน พอล อัลเลน ซึ่งยานอวกาสนี้ก็บินขึ้นสู่อวกาศได้จริง ไปมาแล้วถึง 2 เที่ยวด้วยกัน ไอเดียการแข่งขันการพัฒนาสิ่งที่เป็นเทคโนโลยีล้ำหน้านี้ต่อมากลายมาเป็นต้นแบบให้กับ Netflix ผู้ให้บริการภาพยนตร์ออนไลน์ชื่อดังที่ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันดี ในการสร้างแข่งขันการพัฒนา Application แนะนำและชมภาพยนตร์ที่เราเห็นกันอยู่ในทุกวันนี้ จะว่าไปไอเดียนี้ก็คล้ายๆการระดมทุน แต่คุณจะเห็นว่า สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่ดูไกลเกินเอื้อมอย่างยานอวกาศถ้าไม่ใช่นาซ่าก็คงหมดหวังที่จะไปทำ  เพราะลำพังกำลังของบริษัทเอกชนแห่งใดแห่งหนึ่งก็คงไม่เพียงพอ แต่พอเปิดช่องทางให้คนหลายๆฝ่ายได้เข้ามาหยิบจับสัมผัส ไอเดียที่หลากหลายก็ทำฝันที่ดูไกลเกินเอื้อมให้เป็นจริงได้ ไอเดียเหล่านี้สามารถนำไปดำเนินการสร้างนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่หรือจะเล็กๆเพียงสร้างแฟรนไชส์ของตนเองก็ได้ทั้งนั้น

“หากใครต้องการประสบความสำเร็จในยุคนี้ คนนั้นจะต้องร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจที่หลากหลายและมีความสามารถ โดยการมองว่าคนอื่นมีความสามารถมากกว่าตัวเอง จะเป็นหนทางนำไปสู่ความสำเร็จ”

Jack Ma ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Alibaba Group

 

ทาร์เก็ต(Target)บริษัทค้าปลีกที่เป็นต้นแบบของนวัตกรรมเครือข่าย

      ทาร์เก็ต (Target)ยักษ์ใหญ่ร้านค้าปลีกอเมริกาเปิดตัวครั้งแรกในโรสวิลล์ รัฐมินนิโซตา ในปีค.ศ.1962 แต่เดิมเคยเป็นร้านค้าปลีกในเครือข่ายของบริษัทเดย์ตัน ประธานคนแรกของบริษัทเคยอธิบายโครงสร้างของทาร์เก็ตไว้ว่าเป็น “ศูนย์รวมของแฟชั่นระดับโลก ควบคู่กับการเป็นศูนย์รวมสินค้าราคาถูก โดยตั้งใจให้เป็นแหล่งรวมสินค้าคุณภาพจากผู้ผลิตคุณภาพ ในราคาส่วนลดที่แสนถูก” ช่วงแรกร้านทาร์เก็ตมุ่งเน้นสร้างความบันเทิง เพื่อต้อนรับกลุ่มลูกค้าได้ทั้งครอบครัว โดยใช้การจัดวางสินค้าที่ง่ายต่อการซื้อ

Isaac Mizrahi และ Anya Hindmarch 2 นักออกแบบชื่อดัง

ต่อมาในปี ค.ศ.1999 ทาร์เก็ตได้จับมือกับไมเคิล เกรฟส์ สถาปนิกนักออกแบบเครื่องใช้ในครัวเพื่อนำมาขายในทาร์เก็ต ซึ่งได้รับการตอบรับดีมากจากลูกค้า จากนั้นทาร์เก็ตจึงได้ร่วมงานกับนักออกแบบผลิตภัณฑ์อีกกว่า 75 ราย และแฟชั่นดีไซน์เนอร์ชื่อดังอีกมากกว่า 12 ราย เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์สุดพิเศษที่มีขายเฉพาะในทาร์เก็ตเท่านั้น ล่าสุดทาร์เก็ตยังคงขยายเครือข่ายร่วมกับองค์กรอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ร่วมกับ Liberty of London เพื่อสร้างร้านที่จะเปิดให้บริการเฉพาะช่วงเวลาจำกัด (Pop – up Shop) ทำให้เกิดการบอกต่อปากต่อปาก ดึงดูดความสนใจและสามารถขายของไปได้พร้อม ๆ กัน จากข้อมูลของทาร์เก็ตพบว่าตลอด 5 ปีที่ทำงานร่วมกับนักออกแบบอย่าง ไอแซค มิซซาฮิ(Isaac Mizrahi) สามารถสร้างกำไรถึง 300 ล้านดอลลาร์ในแต่ละปี ในขณะที่กระเป๋าถือซึ่งออกแบบโดย เอนย่า ฮินด์มาร์ช (Anya Hindmarch) ยังขายแบบออนไลน์ได้หมดภายใน 2 นาที จากนวัตกรรมการสร้างเครือข่ายของทาร์เก็ตไม่เพียงแต่ทำให้ร้านอยู่รอด แต่สามารถเติบโตต่อสู้กับร้านค้ารายใหญ่ๆได้เป็นอย่างดี