HIGHLIGHTS:
|
“การทำลายเชิงสร้างสรรค์”(Creative Destruction) อาจจะเป็นคำที่แปลกใหม่สำหรับคนไทย แต่ในวงการธุรกิจของโลกกลับเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างนี้และคำๆนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการ สร้างนวัตกรรมสุดล้ำของโลกอีกด้วย
ถ้าสิ่งเก่าไม่ล้มหายจากไป สิ่งใหม่ก็ไม่เกิดขึ้น
เชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า “ติเพื่อก่อ” คำติเตียนอันเป็นคำพูดในแง่ลบนั้นคงไม่มีใครชอบ ทุกคนคงต้องการคำชมทั้งนั้น แต่สำหรับนวัตกรตัวจริง หรือคนที่คิดจะทำการสร้างนวัตกรรมจะต้องไม่สนใจคำชม แต่ควรให้ความสำคัญกับคำติเตียนแทน คนไทยเราใช้คำว่า “ติเพื่อก่อ” แต่ในวงการการสร้างนวัตกรรมและวงการธุรกิจของต่างประเทศจะใช้คำว่า “การทำลายเชิงสร้างสรรค์”(Creative Destruction) ซึ่งจริงๆแล้วถ้าพูดถึงสิ่งนี้ขึ้นมานักธุรกิจต่างๆใช่ว่าจะรู้สึกดี เพราะอย่างที่กล่าวไปไม่มีใครทำธุรกิจผลิตสินค้าและบริการออกมาแล้วโดน“ด่า”ไม่มีผู้นำคนไหนกำหนดนโยบายของประเทศออกมาแล้วต้องการเสียงโห่ไล่ของประชาชน แต่ถ้าเรามองกลับไปอีกด้านหนึ่งเสียงกร่นด่าและคำวิจารณ์ในแง่ลบนี่แหละที่เป็นพลังที่มองไม่เห็นผลักดันให้เกิด ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆเกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆที่เปลี่ยนโลก ต้นไม้ใบหญ้าที่ขึ้นมาตามธรรมชาติอาจจะสวยงามอยู่แล้วก็จริง แต่ถ้าคุณไม่ลองตัดมันทิ้งและตัดต่อทาบกิ่งบ้าง คุณก็ไม่มีโอกาสที่จะเห็นดอกไม้พันธุ์ใหม่ที่สวยงามขึ้นกว่าเดิม การสร้างนวัตกรรมก็เป็นเช่นนั้น สิ่งที่คุณขายสิ่งที่คุณผลิตอาจจะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคตอนนี้ก็จริง แต่ในอนาคตใครจะมบอกได้จริงไหม? ดังนั้นถ้าคุณคิดจะทำให้ธุรกิจของคุณมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น คุณก็จำเป็นที่จะต้องคิดถึงเรื่องของการสร้างนวัตกรรมใหม่ ลองใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบสินค้าและบริการอะไรสักอย่างออกมา แล้วนำสิ่งนั้นไปทดลองตลาด วางจำหน่ายในราคาถูกหรือแจกฟรี แล้วสอบถามคำคิดเห็นจากผู้บริโภค คำชมก็เก็บไว้เป็นกำลังใจ แต่ที่ต้องสนใจมากๆ คือ คำวิจารณ์ในแง่ลบหรือคำด่านั่นเอง เพราะสิ่งเหล่านี่แหละคือ “การทำลายเชิงสร้างสรรค์” เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
การสร้างนวัตกรรมจำเป็นด้วยหรือ?
คุณอาจไม่รู้ว่าในช่วงนาทีที่คุณนั่งอยู่ในออฟฟิศกำลังนั่งเช็คผลประกอบการอยู่นั้น อาจเป็นนาทีเดียวกันกับที่บริษัทคู่แข่ง “ปิ๊ง” ไอเดียการสร้างนวัตกรรมที่จะทำให้เขาก้าวล้ำหน้าเหนือคุณไปอีกสิบขั้น ปัจจุบันนวัตกรรมถูกสร้างให้เกิดขึ้นได้ ทุกๆชั่วโมง จากทุกมุมของโลก มีเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ช่วยให้การสร้างนวัตกรรมก่อเกิดขึ้นได้อย่างง่าย ๆมากมาย เริ่มตั้งแต่การระดมทุน (Crowdfunding) ไปจนถึงเครื่องพิมพ์ 3 มิติ App Store และอื่นๆอีกมากมาย ตลาดความต้องการของมนุษย์มีพื้นที่ว่างเสมอสำหรับไอเดียใหม่ๆ ความคิดสร้างสรรค์ดีๆถูกมอบไว้ในมือของใครก็ได้ในโลก ไม่ใช่แค่คุณอีกต่อไป ดังนั้น สิ่งที่คุณมองว่านี่คือสุดยอดนวัตกรรมของคุณในตอนนี้ กำลังตอบโจทย์ผู้บริโภคเป็นที่สุด แต่เชื่อสิสุดท้ายไม่นานนักทุกสิ่งทุกย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเก่า น่าเบื่อ และกลายเป็นข้อเสนอที่ไม่เร้าใจอีกต่อไป เพราะความคาดหวังในคุณภาพของลูกค้าที่จะหมุนไปข้างหน้าตลอด การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอยู่เสมอ
จงลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่า “ให้กับตัวเอง” อยู่เสมอ
Garrett Camp ผู้ก่อตั้ง Uber
Uber พัฒนาสิ่งที่ดีขึ้นสำหรับผู้คนจากความคิดเห็นในแง่ลบ
ตอนนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก Uber Application เรียกรถโดยสารที่เข้ามาพลิกโฉมแท็กซี่เดิมๆของทั่วโลก ซึ่งก็เป็นประเด็นที่ยังแก้ไม่ตกในบ้านเราทุกวันนี้ Uber นับเป็นผู้แข่งขันมาแรงที่เข้ามาพลิกโฉมวงการธุรกิจรถโดยสารสาธารณะบุคคล และเป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างความหวังใหม่ให้กับผู้คน สิ่งหนึ่งที่ผู้บริหาร Uber รู้ดีก็คือ ความคาดหวังของผู้บริโภคนั้นดูเป็นสิ่งที่วัดได้ยาก จะทำความเข้าใจก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น จะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างหนึ่งลงไปก็ไม่รู้ว่าจะกระทบกับความรู้สึกและความคาดหวังของผู้บริโภคแค่ไหน เพราะถ้าพลาดเพียงนิดเดียวก็เท่ากับเป็นการเปิดช่องให้กับคู่แข่งหน้าใหม่ทันที ในเดือนมกราคม ค.ศ.2015 Uber จึงได้มีการทำการศึกษาวิเคราะห์การให้บริการของตนเองและวิเคราะห์พฤติกรรมผู้โดยสารที่เรียกใช้Uberด้วย โดย Uber เน้นประเด็นศึกษาไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาเฉลี่ยที่คนขับจะไปถึงจุดที่ผู้โดยสารเรียกกับการตัดสินใจที่จะใช้บริการหรือยกเลิกการบริการของผู้โดยสารซึ่งดูจากความคิดเห็นและคำวิจารณ์ในแง่ลบในเรื่องของการรอรถมารับของผู้โดยสาร ซึ่งนั่นทำให้ Uber พบว่า ผู้โดยสารให้ความคาดหวังในการบริการของ Uber ไว้สูง คือคิดว่ารถจะมารับเร็วตามที่คิด แต่ในความเป็นจริงรถอาจไม่สามารถมารับได้เร็วตามที่แจ้งไว้ได้ สรุปก็คือความอดทนในการรอรถจาก Uber มารับนั้นสั้นลงเรื่อยๆนั่นเอง และจากการศึกษานี้ทำให้ผู้บริหาร Uber ถึงกับกล่าวว่า “เราตระหนักดีว่า เราต้องยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้นเรื่อยๆ” โดยที่ทาง Uber นำความเห็นในแง่ลบของผู้ใช้บริการเหล่านั้นมาหาช่องทางพัฒนาปรับปรุงการบริการจนดีขึ้นกว่าเดิมากในปัจจุบันนี้นั่นเอง