กระแส #ก้าวคนละก้าว ในตอนนี้กำลังมาแรงและอยู่ในความสนใจ หลายคนถึงกับเอ่ยปากว่าอยากจะออกไปวิ่งกับพี่ตูนบ้าง แต่ติดที่ว่าตัวเองไม่ค่อยออกกำลังกายกลัวจะวิ่งไม่ไหว เรื่องของการออกกำลังกายก็คล้ายกับเรื่องอื่นๆในโลกนี้ ตรงที่มีผู้อยากจะลองเริ่มต้นทำแต่ไม่กล้า เพราะได้รับข้อมูลบางอย่างมา ที่เป็นในแง่ลบเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ทำให้กลัวไปเลย ซึ่งปัญหาเหล่านี้นี้มิใช่จะเกิดในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างบ้านเราเท่านั้น หลายๆประเทศที่พัฒนาแล้วก็ยังมีความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการออกกำลังกายอยู่มาก มีความเข้าใจใดบ้างที่เป็นความเข้าใจที่ผิดมาดูกันเลย

1.การออกกำลังกายจะทำให้กินมากขึ้น

woman-eating-giant-sandwich     เป็นความเข้าใจผิดที่มีมากที่สุด หากมองกันผิวเผินก็ดูเหมือนจะมีความเป็นไปได้ เพราะออกกำลังกายมาก เราก็เหนื่อยมาก เหนื่อยมากก็ต้องการกินมากขึ้นเพื่อชดเชยพลังงานที่สูญเสียไป นั่นจึงทำให้คนอ้วนหรือคนที่กลัวอ้วนหลายคนไม่กล้าออกกำลังกาย ก่อนอื่นเลยเราต้องมาดูก่อนว่าเราจะออกกำลังกายประเภทไหน การออกกำลังกายแบบหนักและนานอย่างการวิ่งระยะไกล หรือขี่จักรยานทางไกล ประเภทเหล่านี้จะทำให้กินเยอะขึ้นก็ไม่น่าจะใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะการออกกำลังกายแบบนี้ต้องใช้พลังงานมาก ทำให้ร่างกายต้องการพลังงานมาชดเชยกับที่เสียไปเพื่อปรับสมดุล แต่คุณรู้หรือไม่ว่าคนที่ออกกำลังกายแบบนี้แม้จะกินมากแต่ก็มักจะไม่อ้วน มีการเช็คพฤติกรรมของนักวิ่งมาราธอนพบว่า พวกเขากินอาหารมากถึงวันละ 5,500 -6,000 แคลอรี่ ซึ่งมากกว่าคนปกติตั้งเท่าตัว แต่ก็อย่างที่เราเห็นๆกันพวกนี้ไม่อ้วนกันเลย อันนี้คือการออกกำลังกายแบบหนักสไตล์นักกีฬา ส่วนถ้าคุณเป็นผู้ที่ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพโดยทั่วๆไป ยิ่งไม่ต้องกลัวเพราะระดับของการออกกำลังกายของคุณไม่ค่อยหนักมาก จึงไม่ได้ทำให้คุณกินมากขึ้นอย่างที่กลัวกันแน่นอน ได้มีการศึกษาในนักกีฬาผู้หญิงที่เล่นเทนนิสและว่ายน้ำ โดยทำการศึกษาในช่วงที่เป็นฤดูแข่งขัน ซึ่งนักกีฬาเหล่านี้จะต้องออกกำลังซ้อมกันวันละประมาณ 2 ชั่วโมง เป็นเวลานานประมาณ 5 เดือน เขาพบว่าปริมาณอาหารที่นักกีฬาเหล่านี้กินในช่วงก่อนและหลังการเล่นนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย แต่กลับลดน้อยลงนิดหน่อยด้วยซ้ำไป คือ ในนักเทนนิสนั้น ก่อนฤดูซ้อมพวกเขากินอาหารเฉลี่ยนวันละ 1,811 แคลอรี่ แต่ในช่วงที่ซ้อมนั้นกินอาหารเฉลี่ยนเพียงวันละ 1,797 แคลอรี่เท่านั้น ในกลุ่มนักว่ายน้ำก็เช่นกัน ก่อนฤดูซ้อมกินอาหารเฉลี่ยนวันละ 2,091 แคลอรี่ แต่ในช่วงซ้อมกินวันละ 2,065 แคลอลี่ แสดงว่าการออกกำลังกายแต่พอควรนั้นไม่ได้ทำให้กินอาหารมากขึ้น

     อย่างไรก็ตาม แม้บางคนออกกำลังกายแล้วจะรู้สึกหิวและกินมากขึ้นบ้าง แต่ถ้ารู้จักที่จะเลือกชนิดของอาหาร ก็ไม่มีปัญหา เพราะเมื่อนำเอาปริมาณของแคลอรี่ที่กินเพิ่มเข้าไป บวกลบกับปริมาณของแคลอรี่ที่ใช้ในการออกกำลังกายแล้วก็ถือว่ายังสมดุลกันอยู่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเคยทำการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการออกกำลังกายกับการกินอาหารและน้ำหนัดตัว พบว่า การจะกินมากหรือน้อยนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัว ถ้าจับเอาคนที่ขยันทำนั่นทำนี่ทั้งวันให้มานั่งเฉยๆ ก็ใช่ว่าจะกินน้อยลง บางทียิ่งนั่งๆนอนๆไม่มีอะไรทำกลับยิ่งกินมากขึ้นด้วยซ้ำไป เข้าทำนองกินแก้เหงา ในทางตรงกันข้าม คนที่ออกกำลังกายมากก็ใช่ว่าจะกินมากขึ้นเสมอไป

2.อายุมากแล้วไม่ควรออกกำลังกาย

older person-taichi     เมื่ออายุมากร่างกายไม่เหมือนเดิมขืนไปใช้งานเพิ่มขึ้นก็จะพังเร็วกว่าเดิม มีคนสูงอายุหรือเริ่มสูงอายุคิดกันแบบนี้เยอะ ดูผ่านๆก็เหมือนจะจริง แต่เอาเข้าจริงเรื่องนี้กลับเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเช่นกัน ร่างกายคนเราแม้จะมีการทำงานเหมือนเครื่องจักรแต่ก็ไม่ใช่เครื่องจักร เพราะร่างกายของเราสามารถซ่อมแซมตัวเองได้หรือปรับตัวได้ อวัยวะหลายๆอย่างเช่น กล้ามเนื้อ กระดูก ถ้าดูกใช้งานบ่อยๆจะแข็งแรงกว่าอยู่เฉย ดังนั้น การมีอายุที่มากขึ้นจึงไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่ออกกำลังกาย แต่ควรทำตรงกันข้ามออกกำลังกายไปเรื่อยๆ แต่ทั้งนี้ก็ต้องทำอย่างถูกหลักการและไม่หักโหม

3.ทำงานมาเหนื่อยแล้วไม่ควรออกกำลังกาย

hard-working-woman-with-office-files     หลายคนอาจจะล้าจากการทำงานมาทั้งวันแล้ว จึงคิดว่าถ้าออกกำลังกายจะยิ่งทำให้ร่างกายเหนื่อยมากขึ้น ร่างกายจะโทรมมากขึ้น บางคนอาจจะไม่เหนื่อยกายนัก เพราะทำงานในออฟฟิศไม่ค่อยได้ขยับไปไหน แต่ใช้สมองและความคิดเยอะจึงล้าสมองมากกว่า พอเลิกงานจึงขอพักดีกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นความเข้าใจที่ผิดเช่นกัน ถ้าคุณออกกำลังกายสักนิดไม่ต้องหนักมาก ร่างกายกลับจะรู้สึกสดชื่นมากขึ้นไม่ได้โทรมเร็วอย่างที่เข้าใจ หรือใครที่สมองล้ามาแล้วมีความเครียด การออกกำลังกายยิ่งจะช่วยลดความเครียดลงได้ด้วย

4.การออกกำลังกายทำให้มีกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ

man-muscle_640     ประเด็นนี้ส่วนใหญ่จะเป็นความกังวลของผู้หญิง หลายคนเข้าใจว่าการออกกำลังกายคือการสร้างกล้ามเนื้อ และถ้าผู้หญิงมีกล้ามเป็นมัดๆแบบผู้ชายจะดูไม่สวย แต่ในความเป็นจริงแล้วนั่นเป็นเพียงภาพที่คุณคิดไปเอง การออกกำลังกายมีหลายรูปแบบ ไม่ได้หมายถึงว่าทุกรูปแบบจะทำให้กล้ามโต อยู่ที่คุณเลือกมากกว่าจะเล่นแบบไหน เพราะปัจจุบันรูปแบบการออกกำลังกายมีหลากหลายมาก ตั้งแต่เพิ่มความยืดหยุ่น กระชับสัดส่วน จนไปถึงการลดน้ำหนักอย่างได้ผล

5.การออกกำลังกายทุกชนิดป้องกันโรคหัวใจได้

Heart-disease     มีคนจำนวนไม่น้อยคิดแบบนี้ แน่นอนว่าการออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้ แต่ไม่ใช่กับการออกกำลังกายทุกชนิด  จากผลการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญและแพทย์กล่าวตรงกันว่า การออกกำลังกายที่จะดีต่อหัวใจนั้นคือ  การออกกำลังกายแบบ คาร์ดิโอ(cardio) เท่านั้น ส่วนการออกกำลังกายที่เน้นการเพิ่มกล้ามเนื้ออาจจะจะเรื่องหัวใจบ้างแต่ก็น้อยกว่า แต่อย่างไรก็ดีใช่ว่าออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอแล้วจะรอดปลอดภัยจากโรคหัวใจได้เสมอไป เพราะโรคหัวใจอาจเกิดจากปัจจัยที่หลากหลายก็ได้ เช่น กรรมพันธุ์  การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน ไขมันอุดตัน เป็นต้น