หัวไชเท้า 菜头 ชาวจีน(แต้จิ๋ว) เรียก ไชเท้า คนไทยเรียกทับศัพท์ภาษาจีนเช่นกัน เป็นผักที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน เมนูอาหารจีนอันหลากหลายเกิดขึ้นจากผักชนิดนี้ หากกล่าวในทางตำราแพทย์จีนเราอาจเคยได้ยินว่า หากกินโสมประเภท โสมตังกุย ก็ห้ามกินหัวไชเท้า เพราะเหตุที่ว่าหัวไชเท้าออกฤทธิ์เป็นยาเย็น ส่วนโสมตังกุยเป็นยาร้อน ฉะนั้นแพทย์จีนจึงห้ามเอาไว้เพื่อไม่ให้ฤทธิ์ยาต้านกัน เรียกง่ายๆว่า “ล้างยา” กัน แต่อันที่จริงแล้ว คนจีนสมัยโบราณไม่ได้มีทัศนะคติในแง่ลบกับหัวไชเท้า กลับยกย่องหัวไชเท้าว่าเป็นพืชที่ประโยชน์มาก นั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไมคนจีนจึงมีเมนูอาหารมากมายที่ใช้หัวไชเท้าเป็นวัตถุดิบ อันเนื่องด้วยคนจีนโบราณค่อนข้างใส่ใจกับสุขภาพ ฉะนั้นพวกเขาก็จะดูเป็นคนๆไปว่าคนไหนมีสภาพร่างกายอย่างไร ควรกินอะไรไม่ควรกินอะไร
สารอาหารที่พบในหัวไชเท้า
หัวไชเท้ามีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด เช่น วิตามินซี ฟอสฟอรัส สังกะสี รวมถึงมีวิตามินบีบางชนิดอยู่ด้วย อีกทั้งหัวไชเท้ามีสารประเภทลิกนิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถปกป้องและชะลอความเสื่อมของร่างกาย ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้มีการทดลองและพบว่าหัวไชเท้ามีเอนไซม์ ไมโรไซเนส(myrosinass) ซึ่งสามารถใช้ย่อยแป้งกับน้ำตาล และยังมีสารประเภทพาเพน(papain) ซึ่งช่วยในกระบวนการย่อยเนื้อสัตว์
ประโยชน์ของหัวไชเท้าในทางการแพทย์จีน
หัวไชเท้า เป็นพืชผักที่มีรสเผ็ดหวาน มีฤทธิ์เย็น ออกฤทธิ์ตามเส้นลมปราณปอด กระเพาะอาหาร มีสรรพคุณช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ขจัดสิ่งตกค้างในร่างกาย แก้ท้องอืดแน่น ช่วยแก้อาการจุกและแน่นหน้าอก บำรุงม้าม แก้ไอขับเสมหะ คออักเสบเรื้อรัง แก้กระหายน้ำ คอแห้ง แก้อาการเลือดกำเดาไหล และลดความดัน มีสารช่วยต้านไวรัสและยังช่วยต้านมะเร็งด้วย ผู้ที่เป็นพืชผักที่ผู้ป่วยเบาหวานกินได้เพราะหัวไชเท้ามีน้ำตาลน้อย และยังมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วย
หัวไชเท้ากับสรรพคุณทางยา
1.แก้อาการไอ หลอดลมหรือคออักเสบเรื้อรัง มีเสียงแหบแห้ง
- แบบที่ 1นำเมล็ดของหัวไชเท้าประมาณ 1 ถ้วย (10กรัม) ล่างให้สะอาด นำไปบดแล้วผสมน้ำนำไปต้มและนำมาดื่ม
- แบบที่ 2 ปอกเปลือกหัวไชท้าแล้วนำมาหันเป็นชิ้น ไม่ต้องล้างนำเป็นใส่ขวดโหล จากนั้นเทน้ำผึ้งลงไปปิดฝาให้สนิทหมักไว้ประมาณ 3 วัน แล้วค่อยนำทั้งน้ำและเนื้อหัวไชเท้ามาผสมนำอุ่นดื่ม
2.คอแห้งกระหายน้ำ นำหัวไชเท้าคั้นเอาน้ำมาประมาร 1 แก้ว จากนั้นนำไปดื่ม
3.คลื่นไส้อาเจียน เรอเปรี้ยว นำหัวไชเท้ามาหั่นและต่ำให้ละเอียด นำไปต้มและใส่น้ำผึ้งลงไปจากนั้นนำมากินเป็นซุป
4.แผลไฟลวก หรือฟกช้ำ นำหัวไชเท้าและเมล็ดตำให้ละเอียดและนำมาพอกบริเวณแผล
ข้อควรระวัง
เนื่องจากหัวไชเท้ามีคุณลักษณะเย็น ผู้ที่มีอาการท้องอืดง่าย ระบบย่อยอาหารไม่ดีมาแต่เดิม อ่อนเพลีย ไม่ควรกินในปริมาณมาก กินพอประมาณจะช่วยแก้อาการ แต่หากินมากนอกจากไม่ช่วยแก้อาการเดิมแล้วยังกลับทำให้อาการหนักขึ้น และผู้ที่กินโสมหรือยาจีนเพื่อบำรุงเป็นประจำ ควรระมัดระวังการกินหัวไชเท้าเพราะอาจมีฤทธิ์ต้านกัน