ในตอนนี้จีนนับเป็นหนึ่งประเทศที่กลายเป็นผู้นำเรื่องของเทคโนโลยีระดับสูง และ กำลังให้ความสำคัญกับเรื่องของ AI Ecosystem ที่จะผลักดันประเทศให้เดินหน้าไปไกลกว่าเดิม อะไรคือจุดเริ่มต้นในความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในจีน
เมื่อเจ้าปริมาณขอเป็นเข้าคุณภาพด้วยอีกคน
ในความรู้สึกของคนไทยแล้ว เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่เมื่อเอ่ยถึงสินค้าที่มาจากจีนหรือแบรนด์จีน จะรู้สึกทันทีว่า ‘ไร้คุณภาพ ไร้ราคา’ คือหมดศรัทธาและความเชื่อถือในเรื่องคุณภาพไปโดยปริยาย แต่ในความเป็นจริงในปัจจุบันนั้น สินค้าจากจีนใช่ว่าจะไร้คุณภาพอย่างที่คิดกัน มีแบรนด์ดังหลายแบรนด์ที่สินค้ามีคุณภาพและประสิทธิภาพเหนือกว่าสินค้าจาก อเมริกา ยุโรปหรือญี่ปุ่นเลยด้วยซ้ำ ยกตัวอย่าง เช่นแบรนด์ Huawei หรือ Xiaomi เป็นต้น เดิมที่นั้นเรื่องของเจ้าคุณภาพก็ต้องยกให้ญี่ปุ่น สินค้าของญี่ปุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพที่เหนือใคร ความทนทานที่มั่นใจได้ แต่ในอีกฝากจีนก้มีความสามารถผลิตสินค้าเหล่านั้นได้เช่นกัน แต่ช่วง 20 – 30 ก่อนนั้นจีนเน้นเรื่องของการผลิตเอาปริมาณและราคาถูก ไม่เน้นคุณภาพ นั่นจึงทำให้เป็นภาพจำของหลายๆคนว่าสินค้าจีนมีแต่ปริมาณแต่ด้อยคุณภาพ แต่นับ 10 ปีเหมือนกันที่จีน พยายามจะผลักดันสินค้าของตนเองให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูงเทียบเท่าญี่ปุ่นและอเมริกา ซึ่งจีนก็ทำได้จริงๆ แต่สิ่งที่พี่จีนเขาขาดไปก็คือ ภาพลักษณ์ของแบรนด์ ชื่อเสียมันมีมานาน ก็จึงต้องอาศัยเวลาที่จะลบล้างภาพลักษณ์เดิมๆสักพักใหญ่ แต่นี่คือศักยภาพและความน่ากลัวของจีน ที่อเมริกายี่หระมาตลอดเวลา อเมริการู้อยู่แล้วว่า จีนมีความสามารถในการเป็นผู้ผลิตสูงมาก คือเป็นเจ้าแห่งการผลิต และเมื่อไร่ที่จีนขอควบอีกตำแหน่งเป็นทั้งเจ้าผลิตที่มีปริมาณสูงพร้อมๆกับเป็นเจ้าคุณภาพด้วย จีนจะเป็นประเทศที่น่ากลัวอย่างมากในเชิงการต่อสู้ทางเศรษฐกิจ
เทคโนโลยีของจีนพัฒนาจากภาครัฐ
ในบ้านเราเรื่องของเทคโนโลยี หรือของการพัฒนานวัตกรรม หรือเทคโนโลยีอย่าง AI ทุกอย่างจะเริ่มต้นจากฝั่งเอกชน เพราะด้วยเงินทุนเอกชนมีมากกว่า แต่จีนกลับกัน เทคโนโลยี AI Ecosystem ถูกส่งเสริมและพัฒนามาจากภาครัฐ โดยที่ภาครัฐของจีนพยายามผลักดันและค้นหาเอกชนที่มีศักยภาพในการทำงานเหล่านี้ และเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมารัฐบาลจีนก็มีแผนการสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อย่างจริงจัง โดยภาครัฐจะส่งเสริมการค้นคว้าเทคโนโลยี AI ครบทุกด้าน โดยดูจากความต้องการของผู้คนที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน และการวางแผนลึกลงไปถึงการปั้นตลาดอุตสาหกรรม AI ให้มีมูลค่า 1 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 5 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2030 โดยภาครัฐของจีนได้ประกาศความร่วมมือกับยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี 3 รายของจีน คือ
- Baidu พัฒนา AI สำหรับยานยนต์ไร้คนขับ
- Alibaba สำหรับ Smart City
- Tencent พัฒนา AI เพื่อระบบดูแลสุขภาพอัจฉริยะ (Intelligent Healthcare)
นอกจากภาครัฐจะดึงเอาบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่เข้ามาช่วยแล้ว ก็ยังอาศัย Startup เข้ามาช่วยในเรื่องของการพัฒนา AI Ecosystem ด้วย ซึ่งมีทั้ง Startup ที่เกิดขึ้นในประเทศและ Startup นอกประเทศที่มาจากการลงทุนโดยบริษัทจีน
พลังจากภาครัฐปลุกมังกรทั้งหลายให้ตื่นขึ้น
การเดินหน้าจากภาครัฐของจีนเป็นแรงกระตุ้นให้ทิศทางของประเทศจีนมุ่งไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีแบบครบวงจร สามารถนำมาใช้ตอบสนองความต้องการของคนภายในประเทศและสามารถส่งออกเป็นรายได้ของประเทศ สิ่งเหล่านี้ทำให้เอกชนยักษ์ใหญ่ รวมถึง Startup ต่างๆ ของจีนตื่นตัวในการพัฒนา AI Ecosystem อย่างเต็มที่ ตรงไหนที่ไม่มีความพร้อมไม่มีความสามารถขาดไอเดีย จีนก็จะใช้วิธีหา Partner ที่มีประสิทธิภาพในต่างประเทศและให้เงินทุนในการพัฒนา ซึ่งทำให้เกิดมูลค่าทั้งทางเศรษฐกิจและการพัฒนานวัตกรรม
กลยุทธ์เปลี่ยนจากรับเป็นรุก
จีนเริ่มต้นจากการเป็นประเทศที่เป็นฐานการผลิตสินค้าสำคัญของโลก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือไอทีต่าง ๆ อย่างสหรัฐอเมริกาเริ่มต้นออกแบบ แต่เวลาจะผลิตจริงก็ไปผลิตที่จีน ญี่ปุ่น ยุโรปสินค้าหลายอย่างผลิตที่จีนทั้งสิ้น จากการที่ตั้งรับ ขอเป็นผู้ผลิตอย่างเดียว ไม่ขอผลิตแบรนด์ตัวเองเพื่อมาตีตลาด สถานการณ์วันนี้เปลี่ยนไป จีนรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ จากการเป็นผ฿้ผลิตมายาวนาน สร้างแบรนด์และผลิตของตัวเองขึ้นมาแล้ว อีกทั้งยังมี Partner ต่างประเทศร่วมพัฒนาอีก จีนจึงกล้าที่จะเปิดเกมรุกบ้าง นำสินค้าแบรนด์จีนตีตลาดโลก ซึ่งก็ทำได้ดีและสร้างความหวั่นไหวให้แบรนด์จากอเมริกาและยุโรปมากเลยทีเดียว
จีนก้าวมาถึงจุดนี้ ถึงขนาดกล้าประกาศว่าจะเป็นประเทศแรกๆที่ใช้ AI Ecosystem กับเรื่องการทำการค้าและธุรกิจทุกอย่างในประเทศ ก็คงต้องยกเครดิตให้กับรัฐบาลจีนที่มีวิสัยทัศน์ ก้าวข้ามผ่านความขัดแย้งภายในประเทศ รวมใจคนจีนให้เป็น 1 เดียวกันได้ ซึ่งไทยเราเองคงต้องมองตัวอย่างจากจีนไว้ เราถึงจะมีโอกาสผงาดกับเขาบ้าง