อีกหนึ่งสถานการณ์ที่อาจส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโลกแน่นอนในอนาคตก็คือ Brexit หรือ ข้อตกลง การแยกตัวของสหราชอาณาจักร (UK) จากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งจะเริ่มต้นในเดือนมีนาคมปีหน้านี้ การเจรจาทางการทูตเป็นไปอย่างยืดเยื้อมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว แต่คาดว่า Brexit จะลงเอยเป็นการแยกทางกันของสองกลุ่มประเทศนี้ในปีหน้าแน่นอน

BRITAIN-EU-POLITICS-BREXITเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษอันเป็นตัวแทนฝ่ายสหราชอาณาจักร ได้เข้าเจรจากันครั้งสุดท้ายกับ มิเชล บาร์นิเยร์ ผู้แทนฝ่ายสหภาพยุโรป ผลปรากฎว่าการเจรจายังคงยืนหยัดไว้ดังเดิมคือ ทาง UK ขอแยกทางจาก EU ประเด็นที่น่าสนใจของการแยกตัวครั้งนี้มีดังนี้

เรื่องพรมแดนไอร์แลนด์

เรื่องนี้เป็นปัญหาหลักที่ทำให้การเจรจาข้อตกลง Brexit ยืดเยื้อมานานเป็นปีๆ เพราะพรมแดนไอร์แลนด์เหนือบางส่วนนั้นเป็นสหราชอาณาจักร ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นของไอร์แลนด์เที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป การแบ่งแยกดินแดนจึงไม่ใช่เรื่องง่ายและยังมีเรื่องของการตรวจคนเข้าเมืองและระบบศุลกากรตามแนวพรมแดนทางบกระหว่างไอร์แลนด์และไอร์แลนด์เหนือด้วย ที่จะต้องจัดแบ่งให้ลงตัวและไม่เกิดผลกระทบในเชิงลบต่อทุกฝ่าย ซึ่งเชื่อว่าการแยกตัวของ UK จะเกิดขึ้นก่อนการจัดการเรื่องดินแดนเสร็จสิ้น เรื่องนี้จึงต้องมีการทำข้อตกลงทางการค้าไล่หลังตามมาแน่นอน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะสินค้าที่จะนำเข้าและส่งออกของทั้งสองประเทศจะเกิดความสับสนในระบบศุลกากรได้หากการจัดการเรื่องนี้ไม่เสร็จสิ้นโดยเร็ว และอาจส่งผลกระทบถึงสินค้านำเข้าจากประเทศอื่นๆด้วย

ความยุติธรรมในการแข่งขัน

แน่นอนว่าการแยกตัวของ UK จะส่งผลเรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบทางการค้าเป็นธรรมดา แต่อีกหนึ่งเรื่องที่น่าห่วงก็คือ ความยุติธรรมในเรื่องการจ้างแรงงาน การรับความช่วยเหลือหรืออุดหนุนจากรัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นข้อตกลง Brexit ที่ทั้งสองฝ่ายพยายามหาข้อตกลงที่ยุติธรรมที่สุด แรงงานที่ข้ามพรมแดนไปในทั้งสองฝ่ายจะต้องได้รับความเท่าเทียมกันทั้งเรื่องค่าแรงและสวัสดิการต่างๆที่ควรจะต้องได้รับจากรัฐทั้งสองฝ่าย เพราะเดิมทีเคยเป็นกลุ่มประเทศเดียวกัน การดูแลก็จะเท่าเทียมไม่มีปัญหา แต่พอแยกกลุ่มประเทศอาจทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำในเรื่องนี้ได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว

ข้อตกลงทางการค้า

ประเด็นนี้เป็นที่น่าจับตามากของข้อตกลง Brexit ยังไม่มีใครคาดเดาได้ว่าจะออกมาในรูปไหน ซึ่งต้องดูกันยาวๆถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองกลุ่มประเทศนี้ด้วยว่า จะยังมองหน้ากันติดอยู่หรือไม่ เรื่องนี้เป็นที่สนใจก็เพราะว่าคนที่ทำธุรกิจนำเข้าส่งออกจะได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อยแน่ๆ เพราะแต่ละประเทศอาจมีการตั้งกำแพงภาษีสินค้าของกลุ่มประเทศตนเอง

ระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน

การแยกตัวของสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปนั้นจะเริ่มต้นในปีหน้าก็จริง แต่จะเสร็จสิ้นแบบเด็ดขาดนั้น ได้มีการระบุไว้ใน Brexit ว่า จะเสร็จสิ้นทั้งหมดภายในปี 2020 เพราะหลายอย่างต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่าน หลังจากที่กระบวนการ Brexit สิ้นสุดลงแล้ว จะกระทบกับการดำเนินชีวิตและการทำธุรกิจของประชาชนของทั้งสองฝ่ายหรือไม่ เป็นเรื่องที่ยังต้องติดตามกันต่อไป แต่คาดว่าประชาชนจะปรับตัวได้ไม่ยากนักเพราะะกฎเกณฑ์บางอย่างจะมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

จากนี้ไปกระบวนการ Brexit จะเป็นอย่างไรต้องติดตามต่อไปอย่างใกล้ชิด แม้ว่าข้อตกลงถอนตัวจะมีความชัดเจนมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเจรจาเมื่อ 2 ปีก่อน เรื่องนี้อาจจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านของภาคเศรษฐกิจโลก คนทำธุรกิจนำเข้าส่งออกไปที่ 2 กลุ่มประเทศใหญ่นี้ จึงต้องจับจ้องสถานการณ์เหล่านี้ให้ดี


อ้างอิง : theguardian, bloomberg, bbc