มีงานวิจัยฉบับหนึ่งถูกตีพิมพ์ใน PLOS Medicine ระบุว่า สารเคมีที่ถูกใช้ในการผลิตกระดาษห่อและบรรจุภัณฑ์อาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยว สารเคลือบกระทะและเครื่องครัว มีส่วนทำให้ฮอร์โมนและระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติ อันจะทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานผิดปกติและส่งผลให้คนเป็นโรคอ้วนได้ง่ายขึ้น
นักวิจัยในสหรัฐอเมริกาได้มีการทำการศึกษาถึงสารเคมีชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ‘Perfluoroalkyl Substances’ (PFASs) สำหรับนักวิทยาศาสตร์มักจะรู้จักสารนี้ในชื่อ ‘Obesogens’ ซึ่งสารดังกล่าวนี้ถูกใช้มานานกว่า 60 ปีในสหรัฐฯเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร โดยถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษห่อและบรรจุภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว อาหารฟาสต์ฟู้ด และถูกใช้เป็นสารเคลือบกระทะรวมถึงเครื่องครัวอื่นๆ นอกจากนี้แล้วสารนี้ยังเจือปนในแหล่งน้ำย่านอุตสาหกรรม ค่ายทหาร และโรงบำบัดน้ำเสียของสหรัฐฯ ซึ่งยากที่จะหลีกเลี่ยง จากการศึกษาพบว่าสารเคมีชนิดนี้มีผลต่อปัญหาสุขภาพ เพราะเมื่อร่างกายรับเข้าไปมากๆจะไปทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานผิดปกติ และจะส่งผลอย่างมากในผู้หญิง ซึ่งเมื่อสารนี้อยู่ในกระแสเลือดในปริมาณมากๆจะทำให้ผู้หญิงเสี่ยงเป็นโรคอ้วนกันมากขึ้น
การวิจัยนี้ได้ทำกับอาสาสมัคร 621 คนซึ่งล้วนเป็นคนที่ประสบปัญหาโรคอ้วนและน้ำหนักเกิน ซึ่งทีมวิจัยได้มีการพาอาสาสมัครไปตรวจสุขภาพโดยตรวจเช็คระบบความเข้มข้นของค่า PFASs ในเลือดของอาสาสมัคร ใครที่มีค่า PFASs ไม่มากก็จะแบ่งไว้หนึ่งกลุ่ม ส่วนใครที่มี PFASs ในเลือดค่อนข้างเข้มข้นก็จะจัดไว้อีกกลุ่ม จากนั้นก็พาทั้งสองกลุ่มไปเข้าคอร์สลดน้ำหนัก และออกกำลังกายเป็นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งผลปรากฎว่าอาสาสมัครกลุ่มที่มีค่าPFASsไม่มากสามารถลดน้ำหนักไปได้ถึง 14 ปอนด์ (ราว 6.4 กิโลกรัม) ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรก ส่วนอีกกลุ่มกลับลดน้ำหนักได้น้อย แม้จะออกกำลังกายอย่างหนักก็ตาม ผลออกมาค่อนข้างหน้าประหลาดลดไม่ได้แถมน้ำหนักเฉลี่ยกลับเพิ่มมากขึ้น 6 ปอนด์ (ราว 2.7 กิโลกรัม) ซึ่งกลุ่มที่ PFASs ในเลือดสูงและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง
เดิมทีนั้น PFASs ถึงพูดถึงในแง่ของสารที่ก่อมะเร็ง แต่เวลานี้สารนี้ถูกเพิ่มความอันตรายขึ้นมาอีกอย่างเพราะสามารถนำพาโรคอ้วนมาสู่เราได้ด้วย แม้ว่านี่จะเป็นการทดลองที่ต่างประเทศ แต่อาหารหลายอย่าง รวมถึงเครื่องครัวที่เราใช้ก็มีการนำเข้าหรือผลิตโดยใช้สารเคมีเดียวกันกับทางสหรัฐฯ ฉะนั้น เรื่องนี้เราควนไทยจึงต้องระวังด้วยเช่นกัน
อ้างอิง: time, yahoo, journals.plos