HIGHLIGHTS:

  • รู้มากอาจจะไม่มีความสร้างสรรค์ แต่คนรู้น้อยบางทีก็มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีๆได้
  • การจะแก้ปัญหาต่างๆในชีวิต ทั้งเรื่องชีวิตครอบครัว ชีวิตการทำงาน และความรัก ไปจนถึงขั้นการคิดที่จะสร้างนวัตกรรมเพื่อขายทำกำไร บางทีลองคิดน้อยๆดูบ้างและลองใช้วิธีบ้าๆเข้ามาแทนก็น่าจะเป็นไอเดียที่น่าลองเหมือนกันนะ ไม่แน่วิธีนี้อาจให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าก็ได้

 

     มีหนังสือมากมายที่เกี่ยวกับสตีฟ จ็อบส์บอกไปแล้วว่า เขาได้ไอเดียการสร้างนวัตกรรมเปลี่ยนโลกอย่างผลิตภัณฑ์ตระกูล i ทั้งหลายมาจากแนวคิดของพุทธวิถีเซน แต่ทำไมวิธีคิดของจ็อบส์กลับไปตรงกับวิธีคิดเดียวกันกับบุคคลที่อายุห่างกันหลายพันปีอย่างพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้กันนะ หรือว่าอเล็กซานเดอร์มหาราชจะเป็นต้นกำเนิดของการสร้างนวัตกรรม iPhone ตัวจริงกันแน่ ถ้าใช่นี่เรามีนวัตกรรมล้ำยุคมาเป็นพันๆปีกันแล้วหรือนี่

ปมกอร์เดียนเงื่อนปมปริศนา

Gordian-Knot     คนส่วนใหญ่มักรู้จักพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชในแง่ของกษัตริย์ยอดนักรบ แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งซึ่งฝรั่งรู้จักกันดีในและมักนำมาเล่าสู่กันฟังเวลาพูดถึงเรื่องความคิดสร้างสรรค์ นั่นคือ เรื่องของ ปมกอร์เดียน (Gordian knot) ในหนังสือเคล็ดลับนักบริหารของฝรั่ง รวมถึงตำราเรียนในชั้นเรียนเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมของมหาวิทยาชั้นนำของโลกหลายแห่ง ได้มีการนำเรื่องของปมกอร์เดียนมากล่าวและยกเป็นตัวอย่างกลยุทธ์หรือแนวทางในการสร้างนวัตกรรมอยู่เป็นประจำ โดยที่พวกฝรั่งเขามองว่าตำนานเรื่องนี้เป็นตัวอย่างชั้นเยี่ยมของการใช้ “ความคิดสร้างสรรค์” ที่ฉีกกฎเดิมๆ

     ย้อนกลับไปในช่วงเวลาก่อนยุคสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์กว่า 100 ปี ในบริเวณที่เรียกว่า ฟริเจีย(Phrygia)ซึ่งอยู่ในเอเชียไมเนอร์ (ปัจจุบันบริเวณนี้อยู่ในประเทศตุรกี)ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นไม่มีระบบระเบียบที่ชัดเจน มีผู้นำชุมชนเป็นพวกพ่อมดหมอผี และวันหนึ่งพ่อมดหมอผีประจำเมืองก็ได้ทำนายอะไรบางอย่างเอาไว้ คำทำนายที่ว่าก็คือ อีกไม่ช้าเมืองแห่งนั้นจะได้พบการมาของบุคคลที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด เขาผู้นั้นจะนั้นจะเข้ามาเป็นกษัตริย์ผู้นำเมือง ทำให้เมืองมีความร่มเย็นและเขาผู้นั้นจะเดินทางมาด้วยพาหนะที่สุดแสน “ประหลาด” และวันนั้นก็มาถึงเมื่อสามีภรรยานักเดินทางคู่หนึ่ง จะเรียกว่าเป็นคนเผ่าเร่ร่อนก็ได้เดินทางเข้ามาในเขตเมืองแห่งนั้นด้วยพาหนะซึ่งตรงกับคำพยากรณ์ นั่นคือ เกวียน! ซึ่งหลายๆอย่างดันไปตรงเข้ากับคำทำนายของพ่อมดหมอผีเข้าให้ ชายผู้นั้นจึงถูกชาวเมืองอุปโลกน์ให้เป็นกษัตริย์โดยไม่ทันได้ตั้งตัว และชายผู้โชคดีคนดีมีนามว่า กอร์เดียส(Gordius)

8bf4ddfc9737bdaec3231ad02ea4e549     เมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์แล้ว กอร์เดียสจึงได้แสดงความขอบคุณด้วยการอุทิศเกวียนแด่เทพเจ้าชาบาสิออส (Sabazios) แห่งฟริเจีย (ซึ่งพวกกรีกตีความว่าคือ ซูส(Zeus) เทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาเทพเจ้าทั้งมวลของพวกตน) โดยผูกเกวียนนี้ไว้กับเสาต้นหนึ่งด้วยปมอันแสนสลับซับซ้อน ตำนานโม้ต่อไปว่า ใครก็ตามที่สามารถแก้ปมนี้ออกมาได้ จะเป็นเจ้าผู้ครองเอเชีย มีคนพยายามแก้ปมกอร์เดียนนี้คนแล้วคนเล่า แต่ก็ไม่เคยมีใครทำสำเร็จ จวบจนกระทั่งในปี 333 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ซึ่งขณะนั้นมีอายุเพียง 23 ปียกทัพผ่านมาและตั้งค่ายฤดูหนาวที่นี่ เมื่อพระองค์ได้ยินกิตติศัพท์และคำทำนายเกี่ยวกับปมอันแสนยุ่งเหยิงนี้ก็ตามไปดูทันที

     ว่ากันว่า พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ “มึน” อยู่พักหนึ่งเพราะไม่ว่าจะมองหาปลายเชือกเท่าไหร่ ก็หาไม่พบ แล้วจะแก้ปมนี้ได้ยังไง…พระองค์ครุ่นคิด…ก็ในเมื่อหาปลายเชือกเพื่อแก้ปมไม่ได้ “ยังงี้ข้าก็ต้องคิดกฎขึ้นมาเอง” ฉับพลันนั้นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ก็ดึงมีดประจำพระองค์ออกมาเงื้อ แล้วฟันฉับลงไป!

Alexander-Cuts-the-Gordian-Knot     ปมกอร์เดียนอันมีชื่อเสียงเป็นที่โจษจันกันมานานก็ขาดเป็นสองท่อน…หลังจากนั้นพระองค์ก็กรีธาทัพเดินหน้ายึดเอเชีย(บางส่วน)เป็นผลสำเร็จ ในปัจจุบันสำนวน to cut the Gordian knot (ผ่าปมกอร์เดียน)ที่ฝรั่งนักบริหารและนักธุรกิจเขาชอบใช้ อันหมายถึง การแก้หรือจัดการปัญหาที่ยุ่งยากด้วยวิธีการที่รุนแรง บ้าบิ่นและรวดเร็ว ก็มีจุดเริ่มต้นมาจากเรื่องนี้นั่นเอง

“ความคิดสร้างสรรค์ที่แท้จริง ไม่ใช่การพยายามที่จะแปลกและแตกต่างจากคนอื่น แต่คือการเปิดตา เปิดใจ และเปิดสมองแบบสบายๆ จนหลุดจากกรอบจำกัดของตนเอง”

ดังตฤน

จากการแก้ปมปริศนาสู่การสร้างนวัตกรรม

gordian-to-innovation     เรื่องราวของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์แก้ปมกอร์เดียนแบบง่ายๆนั้น เป็นเรื่องที่ชาวตะวันตกทั้งหลายมองว่าเป็นความ “มหัศจรรย์” อย่างหนึ่ง เพราะเขาตีความในเชิงสร้างสรรค์จริงๆ เขาไม่ได้มองว่านี่คือแค่ตำนานหรือ “เรื่องเล่า” เป็นนิทานที่ไร้สาระ แต่กลับเป็นต้นแบบของแนวทางของ “ความคิดสร้างสรรค์” ที่แตกต่าง พวกเขาตีความว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชทำในสิ่งที่เรียกว่า “กล้าแหกกฎเกณฑ์เดิม แล้วสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาใหม่” เอ๊ะ นี่คือแนวทางการสร้างนวัตกรรมเลยนี่นา

     นอกจากนั้นแล้วชาวตะวันตกยังมองเรื่องนี้เทียบในเชิงปรัชญา ซึ่งจะนำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างทุกๆสรรพสิ่งให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ดังคำกล่าวที่ว่า “การสร้างสรรค์นั้นจะต้องเริ่มด้วยการทำลายก่อนเสมอ” ซึ่งเราได้มีการกล่าวถึงแนวคิดนี้ไปแล้วในเรื่องไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เมื่อการทำลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างนวัตกรรม นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือแนวคิดใหม่แต่อย่างใด เพราะปรัชญาไวเศษิกะของอินเดียอันเก่าแก่ซึ่งสอนว่า การสร้างทุกชนิด ย่อมเกิดขึ้นทีหลังการทำลาย และการทำลายทุกชนิดย่อมเกิดขึ้นทีหลังการสร้าง ซึ่งหมายถึง ทำลายของเก่าที่มีอยู่แล้วโดยจัดให้อยู่ในรูปแบบใหม่ เช่น ถ้าเราจะสร้างโต๊ะสักตัวหนึ่งก่อนอื่นเราต้องตัดและทำลายต้นไม้ที่มีอยู่เดิม แล้วจัดระเบียบใหม่ ให้มีรูปร่างเป็นโต๊ะ

steve-jobs     ปัจจุบันคือยุคของสมาร์ทโฟนครองเมือง ผู้ที่สร้างกระแสเปลี่ยนโลกนี้ขึ้นมาเราคงต้องยกให้ “สตีฟ จ็อบส์” ไปเลย เขาคือนวัตกรผู้สร้างนวัตกรรมเปลี่ยนโลก จนทำให้เราทุกคนต่างเป็น “ทาสมือถือ” ไปโดยไม่รู้ตัว และสิ่งที่สตีฟ จ็อบส์ใช้ในการเปลี่ยนโลกครั้งนี้ก็คือ การแหกกฎเดิมแล้วสร้างกฎใหม่ขึ้นให้กับโลก เขารู้อยู่แล้วว่า “เทคโนโลยีย่อมมีทางตัน” ตอนนั้นคอมพิวเตอรืและระบบไอทีเดินทางมาถึงจุดหนึ่งแล้ว มาไกลเกินกว่าที่เขาจะเข้าไปแข่งขันบนเวทีนั้นได้ สตีฟ จ็อบส์ก็ถามตัวเองเสมอว่า “จำเป็นด้วยหรือที่ต้องไปแข่งกับเขา” เขาสร้างเวทีใหม่กฎกติกาใหม่ให้กับวิถีชีวิตของผู้คน ดูไปแล้วสตีฟ จ็อบส์ไม่ได้ใช้ความ “เทพ” อะไรเลย จริงๆจะบอกว่าใช้วิธีห่ามๆ ขวานผ่าซากก็ว่าได้ เหมือนกับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์แก้ปมกอร์เดียนเปี๊ยบ สู่ไม่ได้หาทางออกไม่ได้ ก็ตัดปัญหา “ทำใหม่แม่งเลย” เออ ง่ายดี และไอ้เรื่องง่ายๆนี่แหละนำไปสู่คำถามสำคัญที่ว่า “ทำไมเราไม่ทำกันวะ” เราพูดถึงเรื่องการสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรม การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ แอพฯ และสิ่งอื่นๆกันแบบวุ่นวาย จนบางทีวุ่นวายเกินไปด้วย แล้วทำไมไม่ลองวิธีแบบง่ายๆห้วนๆบางล่ะ ใช้ปัญญาแล้วทำไม่ได้ ใช้กำลังดูบ้างจะเป็นไรไปล่ะเนอะ

รูปประกอบบางส่วนจาก:history.com, cnbc.com