ประเทศคอสตาริกา หนึ่งในประเทศในเขตภูมิภาคอเมริกากลางได้มีการออกแถลงการณ์ถึงแผนการณ์ในการดำเนินนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมว่าจะมีการแบนพลาสติกที่ recycle ภายในปี 2021 เพื่อเดินหน้าเป็นประเทศที่ชดเชยการผลิตคาร์บอนหรือ Carbon Neutral อันจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกและการก้าวไปสู่การเป็นประเทศคาร์บอนต่ำ ซึ่งการแถลงการณ์ดังกล่าวเป็นการแถลงร่วมกันของรัฐมนตรีและผู้ใหญ่จากจาก 3 กระทรวง คือรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมและพลังงาน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณะสุข และในส่วนของหัวหน้าโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ซึ่งทั้งหมดได้ชี้ให้เห็นว่าพลาสติกที่ recycle ไม่ได้นั้น ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ในการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงปัญหาของทางคอสตาริกาเท่านั้น แต่พลาสติกที่ recycle ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ของคนทั่งโลกเลยทีเดียว
มีข้อมูลจากการสำรวจของUniversity of Georgia ของสหรัฐอเมริกาเปิดเผยว่า พื้นที่ที่เป็นทะเลทั่วโลกในแต่ละปีจะมีพลาสติกที่เป็นขยะแล้วเกิดขึ้นมากมายรวมกันแล้วมากกว่า 8 พันล้านตัน/ปี กันเลยทีเดียว ซึ่งพลาสติกที่เป็นขยะเหล่านี้จะไหลไปกับสายน้ำและกระแสคลื่นลงสู่ทะเลและลึกออกไปยังมหาสมุทร เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้ให้เกิดผลกระทบกับธรรมชาติอันงดงามทางทะเลกระทบกับการดำรงชีวิตของสัตว์ทะเลน้อยใหญ่ กระทบชาวประมงและส่งผลไปยังการท่องเที่ยวของผู้คน ซึ่งมีการคาดการรณ์กันว่าหากปัญหาของพลาสติกขยะที่ recycle ไม่ได้และขยะอื่นๆไม่ได้ถูกแก้ไขในเร็ววันปี ค.ศ.2050 ปริมาณขยะพลาสติกรวมถึงขวดแก้วต่างๆจะทวีขึ้นและจะไหลลงสู่ทะเลลึกจนมีปริมาณมากกว่าจำนวนของปลา ด้วยเหตุนี้ทางองค์การสหประชาชาติ (UN) จึงไม่นิ่งนอนใจ เพราะตระหนักดีว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องเร่งแก้ไขเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนบนโลกจึงได้มีการผลักดันโครงการแคมเปญระดับนานาชาติอย่าง#CleanSeas เพื่อเป็นการประกาศจุดยืนที่แน่ชัดว่าได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในทะเลแล้ว และจะขอเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติกในทะเล ซึ่งทางคอสตาริกาเองก็เป็น 1 ในประเทศที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ด้วยเช่นกัน
ขั้นตอนต่อไปของคอสตาริกาหลังจากที่มีการแถลงอย่างเป็นทางการในเรื่องนี้แล้วก็คือ การขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการลดใช้พลาสติก โดยวางแผนการปฏิบัติงานในขั้นต่อไปเป็น 5 ข้อ คือ
1.การสนับสนุนงบประมาณในการจัดการพลาสติกแก่เทศบาลท้องถิ่น
2.การวางนโยบายสำหรับผู้ผลิตพลาสติก
3.การทดแทนผลิตภัณฑ์พลาสติก
4.การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะมาทดแทนผลิตภัณฑ์พลาสติก
5.ริเริ่มการลงทุนในด้านที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้เราจะเห็นว่าประเทศเล็กๆอย่างคอสตาริกา ซึ่งเล็กกว่าประเทศไทยเราถึง 10 เท่าตัว ยังมีจิตสำนึกรักษ์โลกและให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม แล้วประเทศไทยของเราจะอินเทรนด์ไปกับกระแสรักษ์โลกแบบนี้เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ก็คงต้องฝากให้ทุกๆคนช่วยกันคนละไม้คนละมือในเรื่องนี้แล้วล่ะ อย่าให้น้อยหน้าประเทศเล็กๆได้
เครดิตที่มาของข้อมูล : ecowatch.com