shutterstock_1038208165-740x492

ก่อนหน้านี้มีข่าวออกมาว่ารัฐบาลอินเดียไม่เห็นด้วยกับ Cryptocurrency และอาจรุนแรงถึงขั้นมีการแบนสกุลเงินดิจิทัล แต่ล่าสุดมีรายงานออกมาว่ารัฐบาลอินเดียเปลี่ยนใจไม่แบน Cryptocurrency แต่จะผลักให้ไปอยู่ในสินทรัพย์ประเภท Commodities หรือ หุ้นโภคภัณฑ์

ทางรัฐบาลอินเดียเริ่มมีคำสั่งให้กระทรวงการคลังเดินหน้าทำการศึกษาเรื่องCryptocurrency อย่างจริงจัง เพื่อหาทางรับมือกับกระแสความสนใจในเงินดิจิทัลให้ได้ ซึ่งทางกระทรวงการคลังได้แนะนำรัฐบาลในเบื้องต้นว่า ในระยะแรกนี้ควรมอง Cryptocurrency ให้เป็น Commodities หรือ หุ้นโภคภัณฑ์ อย่างน้อยๆจะได้ทำการควบคุมการเทรดซื้อขายได้ในระดับหนึ่งก่อน

สำหรับหุ้นโภคภัณฑ์นั้น ความหมายโดยทั่วไปก็คือสินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโลก หลายคนอาจนึกถึงน้ำมัน แน่นอนว่าน้ำมันเป็นหนึ่งในหุ้นโภคภัณฑ์ชนิดหนึ่งด้วย แต่ในทางสากลแล้วทั่วโลกแบ่งหุ้นโภคภัณฑ์ออกเป็น 5 อย่างด้วยกัน คือ

  • พลังงาน (Energy) เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันเตา ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
  • โลหะอุตสาหกรรม (Industrial Metals) เช่น อลูมิเนียม ทองแดง ตะกั่ว เป็นต้น
  • โลหะมีค่า (Precious Metals) เช่น ทองคำ และ เงิน
  • สินค้าเกษตร (Agricultural) เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง กาแฟ น้ำตาล เป็นต้น
  • สินค้าปศุสัตว์ (Livestock) เช่น Feeder Cattle, Live Cattle, Lean Hogs เป็นต้น

shutterstock_287237753ซึ่งถ้าอินเดียผลัก Cryptocurrency ให้เป็นหุ้นโภคภัณฑ์ คำถามที่น่าสนใจก็คือจะจัดให้เป็นประเภทไหนใน 5 ประเภทนี้ เพราะ Cryptocurrency ก็จับต้องไม่ได้อย่างทองคำและเงิน เรื่องนี้จึงทำให้ทางรัฐบาลอินเดียเป็นกังวลมาก พยามทำงานหนักขึ้นติดตามนักลงทุนรุ่นใหม่ ๆ เพื่อระวังการใช้ Cryptocurrency ในการฟอกเงินและจัดระดมทุนอย่างผิดกฎหมาย

ทั้งนี้ตัวแทนฝ่ายที่สนับสนุนให้ Cryptocurrency ถูกรับรองโดยรัฐบาลกล่าวว่า การซื้อขายเงินดิจิทัลนั้นไม่ใช่ความผิดร้ายแรงถึงขั้นอาญา การเทรดหุ้นนั้นก็คล้ายๆกัน ในนั้นมีการเทรดสินทรัพย์ตั้งหลายประเภท ทำไมไม่มองการเทรดCryptocurrency ให้เหมือนการเทรดหุ้น สิ่งที่รัฐบาลต้องทำก็คือเพิ่มกลไกการรองรับและตรวจสอบว่าเงินดิจิทัลเหล่านั้นไม่ได้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย และการได้มานั้นได้มาอย่างชอบธรรม

เรื่องของ Cryptocurrency จึงเรียกว่าเป็นเรื่องที่ทำเอาปั่นป่วนอย่างมากในอินเดีย ซึ่งก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปในทิศทางไหน


อ้างอิง : qz.com