สื่อต่างประเทศได้รายงานว่า น.ส.เออร์ซุลา มุลเลอร์ ผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติ (UN) ได้ไปเยือนเมียนมาในฐานะทูตในกิจการมนุษยธรรม แล้วก็พบว่าประชาชนในเมียนมายังมีอีกมากที่เข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน นั่นทำให้ไม่ต้องคาดหวังว่าเมียนมาจะสามารถช่วยเหลือดูแลชาวโรฮีนจาที่อพยพลี้ภัยเข้าไปในเมียนมาได้เลย

     จากเหตุการความรุนแรงในรัฐยะไข่ของเมียนมา ทำให้ชาวโรฮีนจาต้องอพยพหนีไปอยู่บังกลาเทศ แต่แล้วก้ต้องถูกทางบังกลาเทศไล่ตะเพิดกลับอีก จึงเป็นความน่าเศร้าใจของชนชาติชาวโรฮีนจาอย่างยิ่งที่มีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้จริงๆ แต่เหมือนพวกเขาไร้ตัวตน ล่าสุดทางสหประชาชาติก็พยายามเข้ามาช่วยเหลือดูแลสิ่งเหล่านี้ พยายามมายุติเหตุรุนแรงต่างๆ และพยายามมาเป็นตัวกลางการเจรจาไกล่เกลี่ยกรณีชาวโรฮีนจาระหว่างเมียนมากับบังกลาเทศ ซึ่งทางเมียนมาได้มีการทำข้อตกลังกับบังกลาเทศว่าจะรับตัวชาวโรฮีนจาที่อยู่ในยะไข่กลับไปเหมือนเดิม แต่จากการลงพื้นที่สำรวจเยี่ยมเยียนของน.ส.เออร์ซุลา มุลเลอร์ ผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติที่ยะไข่ ในเมียนมาและในอีกหลายเมือง กลับพบว่าเมียนมาไม่มีความพร้อมเลยที่จะแสดงให้เห็นว่าจะสามารถรับรองคุ้มครองการดูแลชาวโรฮีนจาให้ปลอดภัยไร้การเข่นฆ่าทำร้ายกัน เพราะประชาชนทั่วไปของเมียนมาเองยังมีคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ในหลายๆด้าน จึงเป็นไปไม่ได้ที่ทางเมียนมาจะมาดูแลชาวโรฮีนจา

     ขณะนี้ เมียนมาอยู่ในขั้นตอนตรวจพิสูจน์ชาวโรฮีนจาลุ่มแรกจำนวนหลายร้อยคนที่จะกลับประเทศเมื่อเมียนมาพร้อม ตามที่เมียนมาแถลงไว้เมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา น.ส.เออร์ซุลา มุลเลอร์ได้พบกับนางอองซาน ซูจี รมว.ต่างประเทศ รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐบาลคนอื่น ๆของเมียนมา จึงได้พยายามเรียกร้องให้ทางเมียนมายุติความรุนแรงต่อชาวโรฮีนจาเป็นเบื้องต้นก่อน และเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงทุกรูปแบบในรัฐยะไข่ด้วย จากนั้นให้พยาปรับปรุงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานให้กับประชาชน เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือประชาชนชาวเมียนมาเองและชาวโรฮีนจาอพยพไปด้วยในเวลาเดียวกัน ก็ต้องมาดูว่าทางรัฐบาลเมียนมาจะทำได้ดังที่ UN ได้ขอไว้หรือไม่

อ้างอิง : reuters