ตรุษจีน ในความรู้สึกและความหมายของเด็กและผู้ใหญ่คงจะมีนิยามที่ต่างกัน แม้ทุกคนจะเข้าใจว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนเหมือนกันก็ตาม แต่สิ่งที่ผู้ใหญ่ทำและที่เด็กเข้าใจอาจมีมุมมองที่ต่างกัน เด็กจะคิดถึงการรับซองอั่งเปา ส่วนผู้ใหญ่นี่สิอาจจะต้องมีอะไรให้เตรียมตัว เตรียมจัดการมากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่คนจีนกับคนไทยทำคล้ายๆกันในวันปีใหม่ก็คือ การพบปะญาติๆและมิตรสหาย วันตรุษจีนจะถือว่าเป็นวันรวมญาติหนึ่งวันก็ว่าได้ ดังนั้นสำหรับผู้ใหญ่แล้ว เมื่อถึงวันตรุษจีนก็จะมีกิจกรรมให้ทำตลอดทั้งวัน และสิ่งเหล่านี้สืบทอดกันต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นจนกลายเป็นธรรมเนียมนิยม สำหรับลูกหลานมังกรรุ่นใหม่ที่อยากจะสืบทอดธรรมเนียมนิยมอันดีที่มีมาแต่รุ่นอากงอาม่าในวันตรุษจึงต้องรู้ว่า ปกติแล้ววันตรุษจีนคงจีนเขาปฏิบัติอย่างไร มีความเชื่ออย่างไรบ้าง

1.ไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ และไหว้ผีไม่มีญาติ

     นี่คือธรรมเนียมนิยมอย่างแรกที่เรามักจะนึกถึง เมื่อถึงวันตรุษจีน คนรุ่นใหม่หลายคนอาจบอกว่าคนจีนเก่าแก่มักจะเป็นพวกเจ้าพิธี แต่สิ่งที่คนโบราณทำกันนั้น ล้วนมีเหตุผลที่ดี อย่างที่ทราบกันช่วงตรุษจีน คนจีนจะให้ความสำคัญอยู่ 3 วันหลักๆ ก็คือ วันจ่าย วันไหว้และวันเที่ยว(ถ้าเทียบกับปีใหม่สากล วันจ่ายก็คือวันที่ 30 ธันวาคม วันไหว้ ก็คือ 31 สิ้นปี แต่สำหรับคนจีนจะเรียกว่าซาจั๊บ คือ30 ตามปฏิทินจีน และวันเที่ยวก็คือวันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม) คำถามคือทำไมต้องไหว้ สำหรับคนจีนแล้วให้ความสำคัญกับเรื่องความกตัญญู การไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ และไหว้ผีไม่มีญาติ เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งซึ่งความกตัญญู การแสดงความขอบคุณ และการแสดงน้ำใจการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

     อย่างการไหว้เจ้าในช่วงเช้า จะเป็นการไหว้ “ตี่จูเอี๊ย” เป็นการไหว้เจ้าในบ้าน อันเป็นการแสดงความขอบคุณต่อเทพเจ้าที่ปกปักรักษาที่อยู่อาศัย ให้ที่อยู่ให้ที่ทำมาหากิน และสำหรับชาวจีนโพ้นทะเลแล้วในขณะเดียวกันก็ใช้ช่วงเวลานี้เป็นการรำลึกถึงบรรพบุรุษที่อยู่เมืองจีน หรือ ที่พามาตั้งรกรากลงหลักปักฐานที่เมืองไทย จนทำให้ลูกหลานได้มีวันนี้ พอตอนเที่ยงก็จะไหว้ผีไม่มีญาติเป็นการแสดงความเผื่อแผ่และความกรุณาเมตตาจิต เรามีเหลือเหลือกินเหลือใช้แล้วก็ต้องเผื่อแผ่ผู้ที่ลำบากบ้าง ของไหว้ก็จะมีทั้งของคาว-หวาน รวมทั้งเป็ด-ไก่ มากหรือน้อยแล้วแต่ฐานะและกำลังทรัพย์ของแต่ละบ้าน แต่ส่วนใหญ่ที่จะขาดกันไม่ได้ก็คือ เครื่องกระป๋องและของแห้ง ไหว้เสร็จก็จะมีการจุดประทัด บางบ้านก็มีการโปรยข้าวสารผสมเกลือ อันเป็นความเชื่อเรื่องของการขับไล่และปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไป ส่วนตอนดึกหลังเที่ยงคืนก็จะมีการไหว้รับเจ้า คือ ไหว้เทพเจ้า “ไฉ่ซิงเอี๊ย” เพื่อความโชคดีในชีวิตตลอดปีอีกด้วย

2.รวมญาติกินเกี๊ยว

os79hyblhlxqHg7Qcqg-o     ธรรมเนียมนิยมในวันตรุษจีนของบางครอบครัวจะมีการรวมญาติกินเกี๊ยวในวันไหว้ด้วย แล้วทำไมต้องเป็นเกี๊ยว ? นั่นก็เพราะว่า เกี๊ยว เป็นตัวแทนของ “เงินทอง” ด้วยรูปร่างของเกี๊ยวจะมีลักษณะคล้ายกับก้อนเงินก้อนทองของคนจีนในสมัยก่อน คนจีนจึงมีความเชื่อเรื่องนี้นั่นเอง

3.กินเจมื้อเช้า คือมื้อแรกของปี

China_HNY_3     นี่ก็เป็นอีกหนึ่งธรรมเนียมวันตรุษจีนที่มีทำกันเป็นบางบ้าน ในวันชิวอิกหรือวันเที่ยว คือ กินเจมื้อแรกของวัน อันเป็นกุศโลบายที่ฉลาดในการทำบุญทำกุศล ลดการเบียดเบียนสัตว์ เพราะวันนี้มักเป็นวันรวมญาติบางทีจะไม่ว่างออกไปทำบุญก็ใช้วิธีการนี้ซะเลย อยู่บ้านก็ทำบุญทำกุศลลดการเบียดเบียนได้ อีกทั้งยังเป็นความฉลาดของคนจีนในการปรับสมดุลเรื่องสุขภาพร่างกายด้วย เพราะวันไหว้ จะได้กินแต่หมู ไก่ ปลา ซึ่งเป็นเนื้อสัตว์ทั้งนั้น กินเนื้อสัตว์มากๆอาจจะทำให้สุขภาพไม่ค่อยดี จึงมีการคิดกลวิธีแต่งเป็นธรรมเนียมนิยมให้ร่างกายได้หันมากินผัดผลไม้ เพื่อปรับสมดุลลำไส้บ้าง จะได้กินครบ 5 หมู่ ไม่เสียสุขภาพ

4.ห้ามกวาดบ้าน

thaihealth_c_adgmrty23568     เราจะเห็นว่าบางบ้าน บางห้างร้านที่เจ้าของเป็นคนจีน ก่อนตรุษจีนเขาจะเริ่มปิดร้านทำความสะอาดกันแล้ว ที่เป็นเช่นนั้น เพราะพวกเขายึดธรรมเนียมนิยมในข้อนี้แหละว่า วันตรุษจีน ห้ามกวาดบ้าน มองในแง่ความเชื่อคนโบราณจะบอกว่าที่ไม่ให้กวาดก็เพราะว่า จะเป็นการกวาดเงินกวาดทองออกไป กวาดสิ่งมงคลทิ้งไปซึ่งเป็นเรื่องไม่ดี แต่ถ้าสกปรกและจำเป็นต้องกวาดจริงๆก็จะให้กวาดเขาบ้าน ไม่ให้กวาดออกจากบ้าน ซึ่งธรรมเนียมนี้บางที่จะถือกันต่อไปจากหลังวันตรุษจีนอีก 2 – 3 วันเลย จะให้ทำตามปกติได้ก็ต่อเมื่อถึงวันที่เริ่มทำงานวันแรก แต่อันที่จริงธรรมเนียมก็ไม่ได้ไร้เหตุผลนะ ที่เขาไม่ให้กวาดก็เพราะว่าวันตรุษจีน เป็นวันรวมญาติปกติแล้วก็ควรใช้เวลาอยู่กับญาติพี่น้องและมิตรสหาย เพราะปีๆหนึ่งอาจได้พบเจอกันแค่ครั้งสองครั้ง จะเสียเวลามายืนกวาดบ้านทำไมล่ะ เสียมารยาทด้วยมีแขกมาไม่รับแขก และอีกประการการมีญาติมิตรมาหาเต็มบ้านตลอดทั้งวัน เดี๋ยวคนนั้นมาคนนี้มา เป็นไปได้ว่าอาจมีคนทำของสำคัญหรือของมีค่าตกหล่นโดยไม่รู้ตัว หากกวาดบ้านไป อาจกวาดของมีค่าเหล่านั้นปนไปกับเศษขยะโดยไม่รู้ตัว ใครมาตามหาก็คงไม่ได้ของคืนเพราะกวาดทิ้งไปแล้ว เขาจึงให้กวาดเข้าบ้าน เวลาใครมาหาก็ยังพอจะพบเจอหรือเป็นที่สะดุดตาบ้างนั่นเอง

5.ติด “ตุ๊ยเลี้ยง” หรือคำอวยพรปีใหม่

main_fff     “ตุ๊ยเลี้ยง” ก็คือ กระดาษสีแดงที่มีคำอวยพร หรือคำมงคล ในสมัยโบราณใครที่รู้หนังสือก็จะเขียนคำอวยพรเองเป็นหมึกดำบ้างเป็นสีทองบ้าง แต่ปัจจุบันยุคสมัยเปลี่ยนไปก็มีพิมพ์สำเร็จรูปวางขายกันแล้ว สีสันสดใส มีรูปสวยงาม ส่วนใครที่ชอบแบบคลาสสิกก็ต้องมองหาที่เยาวราชจะมีคนจีนรับจ้างเขียนคำมงคลด้วยพู่กันจีนอยู่ ตุ๊ยเลี้ยงนั้นปกติแล้วจะติดไว้ที่หน้าประตูบ้านสองข้าง ก็จะมีคำมงคลต่างๆ ซึ่งแล้วแต่คนจะชอบ การติดกระดาษแดงมีคำมงคลนี้หนึ่งเกี่ยวโยงกับความเชื่อโบราณเรื่องการไล่ปีศาจและสิ่งชั่วร้าย สองสีแดงนั้นสะดุดตาและสดใสทำให้บ้านและร้านค้าดุมีชีวิติชีวามากขึ้น

6.ใส่เสื้อผ้าใหม่สีสันสดใส

561000000817801

     ธรรมเนียมในข้อนี้ก็คล้ายๆกับข้อที่แล้ว คือ ต้องการให้ชีวิตดูสดใสมีชีวิตชีวา ผู้ใหญ่จึงมักจะย้ำกับเด็กๆว่า ญาติใส่สีดำ เพราะมันจะทำให้ดูหม่นหมอง

7.ส้ม 4 ผล อวยพรผู้ใหญ่

feature-image-11     วันตรุษจีน หรือวันเที่ยว หากไปเยี่ยมเยียนบ้านไหนที่มีผู้ใหญ่หรืออาวุโสกว่า เขาก็จะให้นำส้ม 4 ผล ไปกราบขอพรจากผู้ใหญ่ ซึ่งผู้ใหญ่จะเอาส้มที่เราให้ออกไป 2 ผล และจะเอาส้มของเขาคืนเรามา 2 ผลเช่นกัน การให้ส้มนั้นเป็นตัวแทนของการมอบสิ่งดีๆให้กัน เพราะคนจีนเชื่อว่าส้มเป็นตัวแทนของก้อนเงินก้อนทอง การให้ส้มไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรับอย่างเดียวเป็นการแลกเป็นความโชคดีซึ่งกันและกัน

8.รับอั่งเปา

trut_cheen     ธรรมเนียมนี้ถูกใจเด็กๆ แต่ผู้ใหญ่คงปวดใจเล็กน้อยถ้าปีนั้นเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ผู้ใหญ่จะให้เงินแต๊ะเอียใส่ซองแดงที่เรียกว่าอั่งเปาแก่เด็กๆ ลูกหลาน ถ้าเป็นหัวหน้านี่ก็นับเป็นอีกหนึ่งโบนัสให้ลูกน้องนั่นเอง

9.ไหว้พระ ไหว้เจ้าเสริมศิริมงคล

433488-01     บางคนต้องออกเดินทางไปเยี่ยมญาติ ไปอวยพรผู้ใหญ่ ไปหาเพื่อนๆ ก็เลยใช้โอกาสนี้แวะไหว้พระขอพรเลยทีเดียว จะได้เสริมความเป็นศิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัวตลอดทั้งปี ส่วนใครไม่ได้ไปไหนก้อาจจะไม่ไหว้ก็ได้ อันนี้ก้แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละบ้านกันไปนั่นเอง