หลังจากที่สื่อชื่อดังอย่าง Bloomberg มีรายงานการจัดอันดับ ‘ประเทศที่มีความทุกข์ยากด้านเศรษฐกิจน้อยที่สุดในโลกปี 2017-2018’ ไปเมื่อ ประมาณวันที่ 17 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งผลออกมาทำให้เราแทบช็อก “มันเป็นไปได้หรือนี่” ซึ่งการจัดอันดับนั้นมีผลออกมาว่า ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ของประเทศที่มีความทุกข์ยากด้านเศรษฐกิจน้อยที่สุดในโลก !!! ขนาดสิงคโปร์และญี่ปุ่นยังครองอันดับ 2 และ 3 เรื่องนี้มันยังไงๆอยู่นะ แล้วคุณล่ะเชื่อไหม
เรื่องนี้เราไม่ต้องวิเคราะห์อะไรกันมาก เพราะมีผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ให้เรียบร้อยแล้ว ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย วิเคราะห์ข่าวว่าสำนักกรณีสำนักข่าว Bloomberg สำรวจพบว่าไทยมีความทุกข์ยากน้อยที่สุด นี่เป็นเรื่องเท็จ ก็เป็นไปได้ว่า Bloomberg อาจวิเคราะห์ผิดพลาด หรือไม่อย่างนั้นก็ “ถูกซื้อ”
ทั้งนี้การวิเคราะห์ของ ดร.โสภณ พรโชคชัย ใช่ว่าจะไม่รักประเทศไทย หากผลการจัดอันดับเป็นแบบนี้จริง ก็เป็นเป็นเรื่องที่น่าดีใจอยู่แล้ว แต่เราต่างรู้กันดีว่า ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ดร.โสภณ พรโชคชัยเองก็คิดเช่นนั้นเหมือนกัน เลยมองว่าเรื่องนี้น่าจะมีความผิดพลาด การรายงานผลของทาง Bloomberg ไม่ตรงกับความจริง ทั้งที่เป็นสื่อใหญ่ ซึ่งอาจสร้างความเข้าในที่ผิดให้กับประชาชนและนักลงทุนได้ เรื่องเหล่านี้มีผลต่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุนแน่นอน ถ้านักลงทุนชะล่าใจอาจพากันลงเหวในที่สุด ดร.โสภณ จึงนำข้อมูลอื่นมาประกอบการวิเคราะห์ได้แก่
1. ดัชนีการทุจริต/โปร่งใส Corruption Perception Index
2. ดัชนีอาชญากรรม (Crime) ในแต่ละประเทศ
3. ต้นทุนการครองชีพ (Costs of Living) ในแต่ละประเทศ
4. ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) ในแต่ละประเทศ
5. ดัชนีการฆาตกรรม (Homicide) ในแต่ละประเทศ
6. ดัชนีความเสี่ยงของประเทศ (Country Risk) ในแต่ละประเทศ
ผลการวิเคราะห์ตัวเลขความทุกข์ยากด้วยตัวแปร/ดัชนี 6 อันข้างต้น ด้วย Simple Regression Analysis โดยให้ความทุกข์ยากเป็นตัวแปรตาม และแต่ละตัวแปรทั้ง 6 เป็นตัวแปรอิสระ ปรากฏว่า ค่า Adjusted R Square ต่ำมาก แสดงให้เห็นชัดว่า ไม่มีความสัมพันธ์เชิงตัวแปรกันเลย โดยความสัมพันธ์เชิงตัวแปรในค่า Adjusted R Square ของดัชนีความทุกข์ยาก กับดัชนีอื่นเป็นดังนี้
1. ดัชนีการทุจริต/โปร่งใส มีค่า Adjusted R Square เท่ากับ 0.383477
2. ดัชนีอาชญากรรม มีค่า Adjusted R Square เท่ากับ 0.533329
3. ต้นทุนการครองชีพ มีค่า Adjusted R Square เท่ากับ 0.375025
4. ภาวะเงินเฟ้อ มีค่า Adjusted R Square เท่ากับ 0.012248
5. ดัชนีการฆาตกรรม มีค่า Adjusted R Square เท่ากับ 0.264251
6. ดัชนีความเสี่ยงของประเทศ มีค่า Adjusted R Square เท่ากับ 0.066282292
การที่ค่า Adjusted R Square ต่ำกว่า 1 เป็นอย่างมาก แสดงว่าไม่มีนัยสำคัญของความสัมพันธ์เชิงตัวแปรเท่าที่ควร ดัชนีความทุกข์ยาก จึงไม่มีส่วนสัมพันธ์กับดัชนีอื่น กล่าวคือความทุกข์ยากน้อย กลับไม่สัมพันธ์กับการทุจริต อาชญากรรม ค่าครองชีพ เงินเฟ้อ อัตราการฆาตกรรม และดัชนีความเสี่ยงของประเทศ แสดงว่าดัชนีความทุกข์ยาก เป็นตัวเลขที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง อาจจัดทำขึ้นโดยมีความผิดพลาด เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองในเชิงบวกให้กับรัฐบาลชุดปัจจุบันของไทย หรืออาจด้วยเหตุผลอื่นใดที่ไม่อาจทราบได้ ดังนั้นจึงอาจอนุมานได้ว่าตัวเลขของ Bloomberg จึงไม่น่าจะเชื่อถือได้เท่าที่ควร
เนื้อหาโดย ดร.โสภณ พรโชคชัย
อ้างอิงบางส่วนจาก : bloomberg