นิด้าโพล เผยผลสำรวจเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 61 ออกมา พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ 45.92% มองเศรษฐกิจแย่ลง
นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “เศรษฐกิจไทยดีขึ้นหรือไม่ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2561 ?” ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9 – 10 เมษายน 2561 เป็นการลงพื้นที่สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งผลสำรวจได้แต่ละด้านที่น่าสนใจมีดังนี้
ภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศจากมุมมองของประชาชน
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.92 ระบุว่า เศรษฐกิจแย่ลง
ร้อยละ 37.52 ระบุว่า เศรษฐกิจยังคงเดิม
ร้อยละ 16.24 ระบุว่า เศรษฐกิจดีขึ้น
ร้อยละ 0.32 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ
นโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐกับความเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชน
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.08 ระบุว่า เท่าเดิม
ร้อยละ 25.28 ระบุว่า ลดลง
ร้อยละ 21.76 ระบุว่า ดีขึ้น
ร้อยละ 0.88 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ
ความคิดเห็นด้านค่าครองชีพ (ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง)
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.76 ระบุว่า เท่าเดิม รองลงมา
ร้อยละ 33.76 ระบุว่า ลดลง
ร้อยละ 18.08 ระบุว่า ดีขึ้น
ร้อยละ 0.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านลดภาระหนี้สิน
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.32 ระบุว่า เท่าเดิม
ร้อยละ 25.92 ระบุว่า แย่ลง
ร้อยละ 10.08 ระบุว่า ดีขึ้น
ร้อยละ 1.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน (ซื้อง่ายขายคล่อง)
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.80 ระบุว่า เท่าเดิม
ร้อยละ 39.84 ระบุว่า แย่ลง
ร้อยละ 14.72 ระบุว่า ดีขึ้น
ร้อยละ 0.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (เช่น ที่อยู่อาศัย ระบบคมนาคม การสื่อสารหรือโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้าและประปา)
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.60 ระบุว่า เท่าเดิม
ร้อยละ 37.52 ระบุว่า ดีขึ้น
ร้อยละ 14.16 ระบุว่า แย่ลง
ร้อยละ 0.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ระดับความสุขจากนโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
- ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.92 ระบุว่า มีความสุขเท่าเดิม เพราะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเมื่อก่อน เศรษฐกิจเหมือนเดิม ไม่ได้แย่ลงและก็ไม่ได้ดีขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า นโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อประชาชน
- ร้อยละ 21.12 ระบุว่า มีความสุขลดลง เพราะ สภาวะเศรษฐกิจ แย่ลง ไม่มีอะไรดีขึ้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หนี้สินเพิ่มขึ้น แต่รายได้ลดลง และบางคนก็ยังบอกด้วยว่าไม่เคยได้รับประโยชน์จากนโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ เลย
- ร้อยละ 20.96 ระบุว่า มีความสุขเพิ่มขึ้น เพราะ สภาพทางการเงินดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น การคมนาคมต่างๆดีขึ้น เศรษฐกิจค่อนข้างดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น และมีความชื่นชอบนโยบายต่างๆของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ความเชื่อมั่นต่อนโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐช่วงไตรมาสแรกของปี 61
- ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.44 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่น เพราะนโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่ได้ช่วยประชาชนทุกระดับอย่างแท้จริง เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก และรัฐบาลแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นโครงการที่ไม่ต่อเนื่อง และเป็นโครงการระยะสั้น
- ร้อยละ 42.24 ระบุว่า เชื่อมั่น เพราะ นโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมีความน่าเชื่อถือ เป็นโครงการที่ดี ทำให้หลาย ๆ อย่างดีขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า มีผู้นำที่ดีและมีความเข้มแข็ง
- ร้อยละ 8.32 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ความคาดหวังต่อเศรษฐกิจไทย หลังจากที่มีการเลือกตั้ง
- ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.96 ระบุว่า คาดว่าจะดีขึ้น เพราะ ต่างชาติจะเข้ามาลงทุนมากขึ้น เนื่องจากมีความมั่นใจต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลชุดใหม่น่าจะมีแนวทางใหม่ ๆ ในการบริหารประเทศได้ดีกว่านี้
- ร้อยละ 16.88 ระบุว่า เหมือนเดิม เพราะ ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่แก้ยาก ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหา และต้องอาศัยปัจจัยหลายๆอย่างร่วมด้วยจึงจะดีขึ้นไม่ใช่แค่การเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดไหนก็คไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น
- ร้อยละ 5.92 ระบุว่า คาดว่าจะแย่ลง เพราะ เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก และจะไม่มีความต่อเนื่องในการดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
- ร้อยละ 18.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : นิด้าโพล