หลายๆประเทศทั่วโลกกำลังสนใจประเด็นสิ่งแวดล้อม และพยายามผลักดันให้กลายเป็นเทรนด์ของโลกในยุคใหม่นี้ให้ได้ เพื่อที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์ต่อโลกของเรา ซึ่งถ้าเทรนด์สิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นจริงและกลายเป็นเทรนด์ของโลกในอย่างยั่งยืนและก็จะเป็นอะไรที่ดีต่อเราทุกคนมากๆ และยังจะดีต่อลูกหลานของเราในอนาคตอีกหลายชั่วคนเลยทีเดียว เมื่อเทรนด์สิ่งแวดล้อมกำลังได้รับความสนใจในตอนนี้ ปัญหาหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นก็คือ เรื่องของฝุ่นละอองในอากาศ องค์กรอนามัยโลกได้มีการประกาศรายชื่อประเทศที่มีคุณภาพอากาศย่ำแย่สุดๆ โดยพิจารณาปริมาณฝุ่นละเอียดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน(1 ไมครอนเท่ากับ 1/1,000 มิลลิเมตร)หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “PM 2.5” เป็นหลัก

     เนื่องจากเป็นฝุ่นที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า สามารถเดินทางผ่านการกรองของจมูกไปยังระบบทางเดินหายใจส่วนลึก เช่น หลอดลมฝอย ถุงลมปอด และบางครั้งก็ดูดซึมเข้ากระแสโลหิตผ่านเส้นเลือดฝอยในปอดด้วย มันจึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพรุนแรงกว่าพวกฝุ่นละอองขนาดใหญ่ ซึ่งจากการจัดอันดับในปี 2014 ผลออกมาดังนี้

1.ปากีสถาน

dust-pakistan     ค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่นละเอียดพุ่งกระฉูดถึง 101 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เข้าขั้นเป็นอันตรายร้ายแรงโดยเฉพาะกับผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจอยู่แล้ว ทั้งยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของชาวปากีสถานปีละหลายพันราย และทำให้อีกอย่างน้อยปีละ 80,000 คนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

pakistan-army     แม้จะมีกลุ่มองค์กรที่พยายามผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาและปรับปรุงคุณภาพอากาศ แต่อะไรๆก็ไม่ดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปากกีสถานยังตกอยู่ในวังวนการสู้รบกับกลุ่มก่อการร้ายตาลิบัน รัฐบาลจึงต้องทุ่มงบประมาณก้อนใหญ่ให้กับงานด้านความมั่นคงมากกว่าจะเทความสนใจให้กับเรื่องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน

2.กาตาร์

dust-Qatar     ค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่นละเอียด 92 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมก่อสร้างที่ดำเนินไปอย่างเข้มข้น เสริมด้วยการจารจรทางอากาศแสนคับคั่งของสนามบินนานาชาติซึ่งเติบโตรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

3.อัฟกานิสถาน

21951-spotlight-afg-01     ค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่นละเอียด 84 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ทำให้ชาวอัฟกันเสียชีวิตปีละประมาณ 3,000 ราย ต้นเหตุของมลพิษทางอากาสคือการจราจรคับคั่ง ข้อจำกัดทางสภาพภูมิประเทศของเมืองที่อยู่ในหุบเขา เครื่องปั่นไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงดีเซล รวมถึงสงครามระลอกล่าสุด เพราะการระเบิดแต่ละครั้งมีส่วนเพิ่มปริมาณฝุ่นละเอียดในอากาศอยู่ไม่น้อย

4.บังกลาเทศ

rtx17v1z     ค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่นละเอียด 79 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร คุณภาพอากาสที่นี่ตกต่ำลงเรื่อยๆ ในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา และเป็นเหตุให้ชาวบังกลาเทศล้มป่วยเข้าโรงพยาบาลปีละหลายพันคนโดยเฉพาะเขตที่มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่อย่างหนาแน่น เนื่องจากเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าค่าแรงถูก และไม่เข้มงวดเรื่องมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมนั่นเอง

5.อิหร่าน

Iran-dust     ค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่นละเอียด 76 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร โดยมีที่มาจากน้ำมันเชื้อเพลิงคุรภาพต่ำ การจราจรที่คับคั่ง วัสดุก่อสร้างที่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน

     แปลกใจเล็กน้อยที่จีนและอินเดียหลุดโผในปีดังกล่าว เพราะย้อนไปอีกหนึ่งปี ทั้งสองประเทศนี้ยังมีชื่อติดอยู่อันดับต้นๆเหมือนกัน แต่อาจเป็นเพราะวัดกันที่ค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ ถ้าพิจารณาในระดับเมือง ก็คงวิ่งตีคู่กันมาแน่ๆเหมือนกันสำหรับ 2 ประเทศนี้

     ย้อนกลับมามองปัญหานี้และเทรนด์สิ่งแวดล้อมในบ้านเรากันบ้าง  เมื่อปี 59 ที่ผ่านมากลุ่มกรีนพีซในประเทศไทยก็ได้มีการเปิดเผยว่า  5 จังหวัดของไทยเราที่ประสบปัญหามีฝุ่นละเอียดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอนอยู่สูงในอากาศก็คือ เชียงใหม่ ลําปาง ขอนแก่น กรุงเทพฯ และราชบุรี ไล่เรียงกันตามลำดับ ซึ่งปริมาณฝุ่นละเอียดที่พบนั้นมีค่าสูงเกินกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ที่ 10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เลยทีเดียว นั่นสะท้อนให้เห็นว่า เทรนด์สิ่งแวดล้อมในบ้านเรานั้นยังเป็นอะไรที่ห่างไกลความฝันอีกมาก เพราะคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่จะส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตประจำวันกันเลย อีกทั้งภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ นี่จึงเป็นสิ่งที่น่าคิดมากๆ ว่าจะมีใครสักคนหรือไม่ที่จะลุกขึ้นมา สร้างเทรนด์หรือทำให้คนไทยเราตระหนักถึงปัญหามลภาวะทางอากาศที่เราต้องเผชิญ ว่ามันอันตรายส่งผลร้ายต่อร่างกายเราอย่างไร ซึ่งเราก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ หรือ Startup รุ่นใหม่หัวใสจะคิดอะไรดีๆออกมาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทยบ้าง

ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจาก: greenpeace