คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าการลงทุนในบ้านนั้นต้องใช้เงินค่อนข้างสูง แต่ความจริงก็คือ เราไม่ได้ใช้เงินของตัวเองทั้งหมด แต่ใช้เงินของคนอื่นมาลงทุน ซึ่งก็คือสินเชื่อที่ธนาคารปล่อยออกมาในอัตราดอกเบี้ยพิเศษนั่นเอง
ตัวอย่างเช่น หากมีการซื้อบ้าน 1 ล้าน บาท เราจะใช้เงินดาวน์ของตัวเอง 10 % เท่ากับ 1 แสนบาท รวมค่าธรรมเนียมอื่นๆ อีกประมาณ 5 % ในขณะที่ส่วนที่เหลือจะจ่ายด้วยการขอสินเชื่อ ยิ่งถ้าเราได้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ก็จะเข้าหลักเรื่องของ การลงทุนด้วย “เงินของคนอื่น” หรือ Other People’s Money(OPM) กล่าวง่ายๆว่าเราแทบไม่มีค่าใช้จ่าย ก็นับว่าเป็นการลงทุนที่ใช้เงินของตัวเองแบบที่ใช้เงินของตัวเองให้น้อยที่สุด แต่กลับสร้างผลตอบแทนหรือผลกำไรให้สูง
ถ้าเรายึดจากตัวอย่างข้างต้น บางคนอาจสงสัยว่าแล้ว “ดอกเบี้ย” จากเงินกู้อีก 9 แสนบาทต้องคิดรวมเป็นต้นทุนด้วยหรือไม่ เราให้แนวคิดดังนี้ ในกรณีที่ถ้าปล่อยให้เช่าบ้านหลังนี้ คนที่จ่ายค่าเช่าบ้านให้เราทุกเดือนก็จะถือเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยธนาคารทั้งหมดแทนเรา แต่กรณีที่อยู่อาศัยเอง ให้คิดเสียว่าแทนที่เราจะเสียเงินจากการเช่าคอนโด หรือบ้านเช่าทุกๆเดือน ก็เอามาซื้อบ้านซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับเราในอนาคตดีกว่านอกจากธนาคารซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนอื่นๆ ที่พร้อมจะให้เรานำมาลงทุน อาทิ กู้ยืมพ่อแม่หรือญาติซึ่งมีข้อดีคืออาจไม่มีดอกเบี้ยหรือถ้ามีก็น้อย
คิดกันง่ายๆ ถ้าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ไม่ดีจริง ทุกสถาบันการเงินคงไม่โหมโปรโมทสินเชื่อที่อยู่อาศัยแข่งกันเหมือนอย่างทุกวันนี้ และน่าคิดเพิ่มอีกนิดด้วยว่าหลักการและกลเม็ดการลงทุนในรูปแบบนี้จึงไม่ค่อยมีใครนำไปใช้กับการลงทุนประเภทอื่นๆ นั่นก็เป็นเพราะธนาคารมองว่า การนำเงินไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เป็นการลงทุนที่ปลอดภัย และมีโอกาสได้เงินคืนสูงกว่าการนำเงินไปลงทุนในทางเลือกอื่นๆ นั่นเอง ยุคนี้แทบไม่มีใครใช้เงินตัวเองลงทุนแล้ว เพราะกว่าจะเก็บเงินได้ครบตามจำนวน บางทีอาจจะช้าเกินไปด้วยซ้ำ การลงทุนด้วยเงินคนอื่นจึงเป็นทางเลือกที่เข้าท่าที่สุดว่าไหม