ณ ร้านTopshopแห่งเมืองแมนเชสเตอร์ของอังกฤษ “ทราวิส อลาบานซา” นักเขียนหญิงข้ามเพศ(สาวประเภท 2 )ได้เข้าไปช้อปเสื้อผ้าภายในร้านแบรนด์ดังแห่งนี้ ขณะที่ทราวิสกำลังต่อคิวรอห้องลองเสื้อของผู้หญิง จู่ๆพนักงานในร้านก็เดินมาหาเธอและบอกให้เธอไปลองชุดที่ห้องเปลี่ยนชุดของผู้ชายซะงั้น ทราวิสไม่สบอารมณ์เอาอย่างมาก เนื่องจากสภาพกายของเธอในขณะนั้นก็เรียกว่าแทบจะเป็นผู้หญิงอยู่แล้ว เธอสวมเสื้อผ้าแบบผู้หญิง(สวมชุดกระโปรง) แต่งหน้าแบบผู้หญิงและที่สำคัญเธอแปลงเพศมาเรียบร้อยแล้วด้วย แต่ทำไมเธอถึงถูกกระทำเช่นนี้ ซึ่งเหมือนเธอถูกเลือกปฏิบัติและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

ในยุคดิจิตอลแค่หนึ่งเสียงก็สำคัญ

     Topshop แบรนด์แฟชั่นชื่อดังจากอังกฤษสะเทือนไปเหมือนกัน หลังจากที่ทราวิส อลาบานซาได้ถูกเลือกปฏิบัติแบบนั้น ทราวิสจึงกลับไปและโพสต์ข้อความบนทวีตเตอร์ว่า “ฉันเพิ่งผ่านประสบการณ์การเลือกปฏิบัติจากพวกทรานส์โฟเบีย(คนที่มีอคติทางเพศ)”

     หลังจากที่ทราวิสทวีตไปได้ไม่นานก็ได้รับความสนใจจากลูกค้าของ Topshop และกลุ่มคนข้ามเพศอื่นๆทั้งที่เป็นลูกค้าของ  Topshop และไม่ใช่ลูกค้ามีการรีทวีตไปเป็นร้อยๆครั้ง เรื่องราวถูกส่งต่อไปยังสื่อสังคมออนไลน์ มีหลายเสียงพยายามออกมาเสียงความคิดเห็นในเชิงสนับสนุนทราวิส และบอกเล่าประสบการณ์การถูกเลือกปฏิบัติในลักษณะคล้ายคลึงกันจากทางร้าน Topshop เรื่องราวกลายเป็นประเด็นสังคมขึ้นมา จนนำไปสู่การตั้งคำถามว่า “ใครกันจะเป็นคนตัดสิน ว่าคนไหนควรมีสิทธิ์หรือไม่มีสิทธิ์ในการลองเสื้อผ้าในห้องลองเสื้อของผู้หญิง” จนในที่สุดก็เกิดแรงกดดันผลักกลับไปที่ทาง Topshop ซึ่งทางผู้บริหารของร้านเองก็รับมือไม่ไหว จึงต้องพยายามประชุมหาทางออกอย่างเร่งด่วน นี่คือเทรนด์และกระแสสังคมหนึ่งของโลกใบใหญ่ที่เราอาศัยอยู่ร่วมกันนี้ เราจะต้องไม่ลืมว่า “คนข้ามเพศ” เขาก็เป็นคนๆหนึ่ง เป็นมนุษย์มีเลือดหน้า มีความรู้สึกไม่แตกต่างจากเราๆท่านๆที่เป็นเป็นหญิงหรือชาย 100% เขามีศักดิ์ศรีไม่แตกต่างจากพวกเรา ดังนั้น ธุรกิจยุคใหม่จึงต้องสนใจและนำประเด็นความเท่าเทียมทางเพศมาพิจารราประกอบในการออกแบบธุรกิจด้วย อย่าลืมว่าพวกเขาก็คือหนึ่งเสียงที่ส่งผลต่อธุรกิจของคุณทุกคนได้เช่นกัน

ถ้ารู้จักปรับรับเทรนด์โลกโอกาสก็ยังมีเสมอ

how-topshop-and-google-are-taking-the-snobbery-out-of-fashion-shows     แม้การโจมตีจากลูกค้าและกลุ่มคนข้ามเพศในครั้งนี้จะทำให้ Topshop สะเทือนไปไม่น้อย แต่ทาง Topshop ก็รู้จักรับมือ พวกเขามีการปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้ทันที อย่างน้อยๆก็เป็นการรักษาภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งเอาไว้ โดยมีการเปลี่ยนนโยบายห้องลองเสื้อเป็นแบบไม่แบ่งเพศ ให้ลูกค้ามีสิทธิ์เลือกที่จะใช้ได้อย่างมีอิสระมากขึ้น และพยายามลดการเลือกปฏิบัติลงให้มากที่สุด

     แต่อย่างไรก็ดีการปรับตัวรับเทรนด์ความเท่าเทียมทางเพศครั้งนี้ของ Topshop ยังไม่ใช่แนวทางการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำนี้ในระยะยาว เพราะเราต้องไม่ลืมว่ายังมีอีกหลายส่วนที่ต้องปรับเปลี่ยนตามเทรนด์นี้ไปด้วย อย่างสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะ เช่น ห้องน้ำ และห้องแต่งตัวในสถานที่อื่นๆ ที่จะต้องปรับเปลี่ยนหรืออนุญาตให้คนข้ามเพศเข้าไปใช้ได้อย่างสะดวกขึ้น นั่นจึงเป็นเรื่องที่น่าคิดน่านำไปพิจารณาสำหรับ นักธุรกิจหรือ Startup ในบ้านเรา จากก้าวเล็กๆของแบรนด์ดังอย่าง Topshop ที่มีการตื่นตัวในเรื่องนี้ น่าจะเป็นประเด็นที่จุดประกายไอเดียให้กับคนทำธุรกิจในบ้านเราบ้าง ซึ่งน่าจะมีการเสริมสร้างความเข้าใจในสิทธิของกลุ่มคนข้ามเพศ รวมถึงมีการฝึกอบรมพนักงานเพื่อที่จะได้ปฏิบัติกับคนกลุ่มนี้ได้อย่างไม่ละเมิดสิทธิอีกด้วย

อ้างอิงจาก : independent.co.uk