สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ออกโรงติงรัฐ หลังครม.อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดสัญญาจ้างสำรวจและผลิตปิโตรเลียม โดยสศช. และอีกหลายหน่วยงานด้านพลังงานเห็นว่าสัญญาจ้างสำรวจและผลิตปิโตรเลียมครั้งนี้มีช่องโหว่ อาจเป็นผลเสียต่อประเทศมากกว่าผลดี

xb     หลังจากครม.มีมติอนุมัติในหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบสัญญาจ้างบริการ หรือ สัญญาจ้างสำรวจและผลิตตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ซึ่งยกร่างโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เมื่อวันแรงงาน 1 พ.ค. 61 ที่ผ่านมา ซึ่งรายละเอียดนั้นเป็นการให้สิทธิเอกชนในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ร่างกฎกระทรวงนี้มีเนื้อหารายละเอียดอยู่ 25 ข้อ แต่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการท้วงติงในข้อ 18 อันมีเนื้อหาเกี่ยวกับการโอนสิทธิ กฎกระทรวงระบุว่า “ห้ามผู้รับสัญญาขาย ให้มอบ โอน จำหน่ายจ่ายโอน ก่อให้เกิดขึ้นอนุญาตให้เกิดขึ้น หรือ ยอมให้เข้ามามีอยู่ ซึ่งสิทธิใดในหลักทรัพย์แก่บุคคลใด ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิ ผลประโยชน์ และข้อผูกพันภายใต้สัญญาไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่ได้ดำเนินงานตามแผนงานและงบประมาณครบ 3 ปีแรก ได้ครบถ้วน และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี”

     สศช.นั้นเห็นด้วยกับกฎข้อนี้แต่ก็ยังมองว่ามีช่องโหว่ รัฐควรจะนำไปพิจารณาอีกครั้งให้ถี่ถ้วน เนื่องจากสิทธิการบริหารจัดการในรูปแบบสัญญาจ้างบริการส่วนมากจะอยู่ที่ภาครัฐ ทำให้รัฐต้องเป็นผู้บริหารความเสี่ยงมากกว่าเอกชนผู้รับจ้างตามสัญญา

14345308811434530937l     ส่วนอีกหน่วยงานที่มีข้อเสนอแนะ คือ สำนักงานอัยการสูงสุด ระบุว่า สัญญาจ้างบริการ เป็นสัญญารูปแบบหนึ่งที่รัฐอาจเลือกใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม โดยที่แบบสัญญาจ้างบริการนั้นจะต้องกำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขของสัญญาให้สอดคล้องกับความในหมวด 3/2 สัญญาจ้างบริการแห่ง พ.รบ.ปิโตรเลียมด้วย ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนรัฐจะรวบรัดเกินไปในขั้นตอนต่างๆ จึงอยากให้ครม.พิจารณากันให้รอบคอบอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะดำเนินการผิดพลาดจนชาติเสียผลประโยชน์