เทคโนโลยีการเชื่อมต่อทั้งแบบมีสายและไร้สายนั้นล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำคัญของโรงงานอุตสาหกรรม และในอีกไม่ช้านี้ การเชื่อมต่อแบบไร้สายจะยิ่งมีบทบาทมากขึ้น เพราะเทคโนโลยี 5G จะเข้ามาทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถที่จะเชื่อมต่อกันได้แบบไร้สาย ภายใต้แนวคิดแบบ IoT(Internet of Things) เรามักจะได้ยินคนกล่าวถึงแต่ 5G และ IoT ในช่วงหลังๆนี้กันบ่อยมาก แต่ในแวดวงอุตสาหกรรมจะมีอีกคำหนึ่งที่ต้องให้ความสนใจนั่นคือ Automation ซึ่งไม่เพียงหมายถึงระบบอัตโนมัติที่เป็นเครื่องจักรเท่านั้น แต่ยังมีความหมายครอบคลุมไปถึงระบเทคโนโลยีไร้สายทั้งหมดที่จำเป็นต้องการใช้งานในระบบอุตสาหกรรมอีกด้วย

การเชื่อมต่อไร้สายใครว่ามีแต่เรื่อง 5G ที่ต้องรู้

ระบบ Automation หรือระบบอัตโนมัตินั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยการเชื่อมต่อไร้สาย หรือการเชื่อมต่อทางไกล แน่นอนว่าภายใต้การทำงานระบบนี้จำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและการเชื่อมต่อแบบ 5G แต่ก็ยังมีเทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบไร้สายอีกอย่างที่จะต้องถูกนำมาใช้ควบคู่กันกับ 5G นั่นก็คือ Wi-Fi 6 ซึ่งนับเป็นมาตรฐานใหม่ของระบบ Wi-Fi เป็นรูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สายแบบใหม่ที่ปัจจุบันเริ่มมีการใช้งานกันบ้างแล้วในบางอุตสาหกรรม โดยมีการนำมาเชื่อมต่อกับเครื่องจักรการผลิต เครื่องพันพาเลท ซึ่งประสิทธิภาพการใช้งานจริงๆก็ไม่ได้ด้อยกว่า 5G แน่นอน

Wi-Fi 6 นั้นจริง ๆ แล้วเป็นการเชื่อมต่อไร้สายที่มีประสิทธิภาพสูงทีเดียวมีค่าความหน่วง (Latency) ต่ำทำให้ประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลทำได้เสถียรและรวดเร็วขึ้น การ Downlink Data ก็สามารถที่ส่งข้อมูลในปริมาณที่มากๆได้ในครั้งเดียว ระบบความปลอดภัยในการส่งข้อมูลก็มีมากขึ้นเพราะมีการเข้ารหัสที่ซับซ้อนมากกว่าเดิม เทคโนโลยีนี้จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดระบบ Automation ขึ้นอย่างแท้จริง และคาดว่าสิ่งนี้จะมีการใช้ควบคู่กันไปกับเทคโนโลยี 5G ซึ่งจะทำให้การเชื่อมต่อไร้สายสมบูรณ์มากขึ้น

LoRaWAN อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ต้องจับตา

อีกหนึ่งเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สายที่จะมีบทบาทไม่แพ้กับเทคโนโลยีทั้ง 2 อย่างที่กล่าวมาข้างต้นก็คือ LoRaWAN อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบ Automation หลายคนอาจจะไม่คุ้นกับชื่อเทคโนโลยีนี้สักเท่าไหร่ เพราะยังเป็นสิ่งที่มีใช้ในวงจำกัด LoRaWAN หรือ LPWAN เป็นเทคโนโลยีเชื่อมต่อไร้สายแบบหนึ่ง แต่จะใช้วิธีการส่งคลื่นกำลังต่ำไปในระยะไกลๆและเน้นการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จำนวนมากที่จะต้องทำงานร่วมกัน จริงๆแล้วเทคโนโลยีนี้ไม่ใช่สิ่งใหม่ในแวดวงอุตสาหกรรม หรือกลุ่มโลจิสติกส์เลย เพราะมีใช้กันมาสักระยะใหญ่ๆแล้วซึ่งนั่นก็คือ การเชื่อมต่อสำหรับการสื่อสารวิทยุทางไกล การเชื่อมต่อ GPS Tracking ที่ใช้ติดตามสถานะตู้สินค้า และตรวจสอบสินค้าคงคลัง ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สนับสนุนให้เทคโนโลยี IoT มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้สินค้าไปถึงที่หมายตรงตามเวลาและมีความปลอดภัย ในต่างประเทศนั้นกลุ่มการขนส่งบางแห่งมีการใช้สายรัดพลาสติกและใช้เครื่องรัดกล่องช่วยผนึกกล่องสินค้าให้แน่นหนา จากนั้นก็มีการใช้ QR Code ติดไว้ที่กล่องสินค้าพร้อมกับใช้ GPS Tracking เชื่อมต่อกับสายรัดอีกทีเพื่อให้เกิดการติดตามสถานะสินค้าได้แม่นยำ สิ่งเหล่านี้เป็นบทบาทหนึ่งของเทคโนโลยี LoRaWAN ที่เกิดขึ้นแล้วแต่หลายคนอาจยังไม่รู้

จะเห็นได้ว่าระบบ Automation ที่โรงงานและกลุ่มอุตสาหกรรมยุคใหม่่จะเลือกใช้นั้น ไม่ได้มีแค่เรื่องของเทคโนโลยี 5G เท่านั้น แต่ยังมีระบบการเชื่อมต่อไร้สายแบบอื่นๆอีกที่จะต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจและนำมาเป็นทางเลือกในการใช้งาน เพราะยังไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่าการเข้ามาของ 5G จะส่งผลอย่างไรบ้างในด้านต้นทุนธุรกิจ หากมีทางเลือกอื่นๆที่มีประสิทธิภาพไม่ได้ด้อยไปกว่ากันให้เลือกใช้ หรือสามารถนำมาใช้เสริมกันกับ 5G ได้ก็คงจะช่วยให้กลุ่มอุตสาหกรรมไทยทำงานกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพดีขึ้นนั่นเอง