แม้ว่าวันนี้โลกของการทำ Content Marketing ในเชิงธุรกิจ น้ำหนักจะเทไปที่วิดีโอคอนเทนต์มากกว่า Text คอนเทนต์เสียมากกว่า ซึ่งเป็นไปตามอิทธิพลความสนใจการเสพเนื้อหาของผู้บริโภคก็ตาม แต่เราก็ยังไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า Text คอนเทนต์ ก็ยังคงมีความสำคัญอยู่ และยังคงมีพลัง มีคนสนใจอยู่ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปแค่ไหน ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ Text คอนเทนต์ มีพลังและวิดีโอคอนเทนต์ไม่อาจลบหรือเอาชนะได้อย่าง 100% หากมองในแง่ของผู้สื่อสารหรือเจ้าของธุรกิจ หรือนักการตลาดก็คือ ต้นทุน ส่วนในแง่ของผู้บริโภคที่เสพสื่อก็คือ เอกลักษณ์ เสน่ห์บางอย่างที่มีอยู่ในตัวอักษร และข้อความถ้อยคำต่างๆ ดังนั้น การลงทุนกับการทำ Storytelling ผ่านรูปแบบ Text คอนเทนต์นั้นจึงยังมีพลังในการจูงใจและโน้มน้าวผู้คนได้ไปอีกนานทีเดียว
จากการรับรู้สู่การสร้าง brand story
การทำ Storytelling หรือการสร้างเรื่องเล่า ไม่ว่าจะทำผ่านรูปแบบ Text คอนเทนต์หรือวิดีโอคอนเทนต์ก็ตามในช่วงแรกก็จะมีเป้าหมายเดียวกันก็คือ สร้างการรับรู้ แต่ในระยะต่อมาแบรนด์ธุรกิจเริ่มมองเห็นคุณค่า จึงนำมาใช้สร้างเป็น brand story ทำแบรนด์ธุรกิจของตนเองให้มีเรื่องราว และเมื่อแบรนด์มีเรื่องราวรองรับ ก็จะทำให้แบรนด์ดูมีน้ำหนัก ดูมีชีวิตชีวา มีความน่าเชื่อถือ และนั่นจึงช่วยให้ผู้บริโภครู้จักแบรนด์ รู้จักสินค้า และเริ่มสนใจในสินค้าเป็นลำดับแบบนี้ไล่มาเรื่อยๆ
ในหลายๆธุรกิจที่มีทุนสูงก็อาจจะเลือกการ Storytelling ผ่านวิดีโอคอนเทนต์ไปเลย เพื่อให้เกิดพลังในการสื่อสาร แต่นั่นก็ไม่การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป หากวิดีโอคอนเทนต์นั้น ไม่สามารถ Storytelling ได้ตรงใจกลุ่มผู้บริโภคได้ตรงจุด หรือ การวางตำแหน่งของโฆษณาไม่ชัดเจน เป็นไปในลักษณะการหว่านไม่เจาะกลุ่ม การลงทุนครั้งนี้ก็อาจไม่คุ้มค่า แต่การ Storytelling ผ่านรูปแบบ Text คอนเทนต์นั้นจะแตกต่างออกไป แม้ว่าจะมีพลังในการสื่อสารน้อยกว่าวิดีโอคอนเทนต์ แต่ในอีกด้านกลับยืดหยุ่นกว่า สามารถที่จะพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงแก้ไข และพัฒนาได้ง่ายกว่าวิดีโอคอนเทนต์มากเลยทีเดียว นี่จึงทำให้แบรนด์ธุรกิจหลายแบรนด์ เริ่มหันมาสนใจการสร้าง brand story ในแบบ Text คอนเทนต์กันมากขึ้น เพราะควบคุมต้นทุนการผลิตได้ง่ายกว่า และก็ยังคงสื่อสารได้ดีอยู่นั่นเอง
เรื่องราวต้องช่วยให้ขายได้
เทคนิคการ Storytelling แบรนด์หรือ Product นั้น เป็นสิ่งที่ดีมีพลังก็จริง แต่สุดท้ายปลายทางแล้วหากจะให้สิ่งนี้มีคุณค่าจริง ๆ ก็ต้องนำไปสู่ “การขายสินค้าหรือบริการให้ได้” ของแบรนด์ คือ Storytelling จะต้องนำไปสู่ Story Selling เรื่องเล่าที่ดีไม่ว่าจะผ่านตัวอักษรหรือวิดีโอ ท้ายที่สุดแล้วต้องทำให้เกิดการซื้อการขาย ต้องทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ธุรกิจนั้น ๆ
นั่นหมายความว่า เรื่องเล่าที่มีพลังและดีจริงๆจะต้องเป็น Story Selling ไม่สำคัญว่าคอนเทนต์นั้นจะเป็นวิดีโอคอนเทนต์ หรือ Text คอนเทนต์ ถ้าคอนเทนต์ Storytelling นั้นช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการซื้อได้ ทำให้แบรนด์ธุรกิจมีรายได้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องเล่าที่ดีทั้งหมด และเป็นเรื่องเล่าที่ทรงพลังอย่างแท้จริง
สรุปแล้วเนื้อหาใจความสำคัญของการทำ Content Marketing ในเชิงธุรกิจแบบ Storytelling นั้น ไม่ได้อยู่ที่แพลตฟอร์มการนำเสนอ แต่อยู่ที่ว่า Story นั้นๆนำไปสู่การปิดการขายได้หรือไม่ หากเรื่องเล่านั้นๆสามารถกระตุ้นให้คนสนใจและตัดสินใจที่จะซื้อได้ เรื่องเล่านั้นๆก็จะกลายเป็น Story Selling โดยสมบูรณ์นั่นเอง