เทคนิค storytelling หรือการเล่าเรื่องนั้น จริงๆไม่ใช่เรื่องใหม่ มีธุรกิจมากมายได้ใช้เทคนิคนี้เป็นจุดเด่นในการทำ Content Marketing ของตนเองจะประสบความสำเร็จมามากมาย ทั้งสร้าง awareness เกิดขึ้นกับผู้บริโภค ทั้งใช้กระตุ้นผู้บริโภคให้เกิดการซื้อ และใช้จนกระทั่งสามารถซื้อใจบริโภคจนปิดการขายได้ แต่ใช่ว่าทุกคนหรือทุกธุรกิจจะสามารถ storytelling ได้สำเร็จและทำยอดขายได้เสมอไป การจะใช้เทคนิคเล่าเรื่องสินค้าและธุรกิจของคุณให้ได้ผลดี คุณก็จำเป็นต้องมีปัจจัยเหล่านี้เป็นองค์ประกอบด้วย
1.เลือกใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนเรื่องเล่าอย่างเหมาะสม
นอกเหนือจากความคิดสร้างสรรค์อันเยี่ยมยอดในการ storytelling เรื่องราวของธุรกิจและเรื่องราวของสินค้าคุณแล้ว การเลือกใช้ช่องทางในการเผยแพร่เรื่องเล่าต่างๆของธุรกิจคุณก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน วันนี้เทคโนโลยีในการนำเสนอคอนเทนต์มีหลากหลายช่องทาง จะ storytelling ออกมาเป็นบทความตัวอักษร ออกมาเป็นคลิป VDO บน YouTube หรือจะทำเป็นแค่เสียงแบบ podcast ก็ได้ แต่คุณจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม อย่างถ้าคุณเล่าเรื่องออกมาในเชิงโฆษณามากๆ ก็ควรจะทำเป็น YouTube แต่ถ้าต้องการเน้นเล่าเรื่องที่เป็นประโยชน์มีสาระ มีใจความสำคัญที่น่าสนใจ จะเลือกทำเป็นบทความหรือ podcast ก็ได้ คุณอย่าลืมว่าวันนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งนั่นก็ทำให้พฤติกรรมการเสพคอนเทนต์ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปด้วย แพลตฟอร์มแต่ละแบบแต่ละค่ายๆ ก็จะมีกลุ่มเป้าหมายในการใช้งานแตกต่างกันไป จะเล่าเรื่องดีให้ตายอย่างไร แต่ถ้าเจาะไม่ถึงกลุ่มเป้าหมายก็คงจะไร้ประโยชน์
2.เรื่องราวที่ storytelling ต้องชวนให้คนส่งต่อ
หัวใจของการทำ Content Marketing ทุกประเภททุกรูปแบบ ก็อยู่ที่การทำให้เกิดการบอกต่อแบบปากต่อปาก เกิดการส่งต่อแชร์ต่อไปในวงกว้าง ซึ่งในปัจจุบันการมีสื่อดิจิทัลช่วยให้การบอกแบบปากต่อปาก การแชร์ต่อเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น (การกดไลค์ กดแชร์) ซึ่งถ้าคุณสามารถที่จะ storytelling ได้น่าสนใจก็ยิ่งจะชวนให้คนส่งต่อและเล่าต่อได้ง่าย ดังนั้น ก่อนจะเล่าเรื่องแบรนด์และสินค้าของคุณ ก็ต้องทบทวนให้ดีว่าเรื่องราวนั้นๆ จะสามารถเปลี่ยนความคิดหรือการกระทำของกลุ่มเป้าหมายเราได้บ้างหรือไม่ จะมีพลังเพียงพอที่จะทำให้พวกเขานำไปเล่าส่งหรือแชร์ต่อได้หรือไม่ด้วย
3.อย่าเป็นแต่ผู้เล่า จงเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย
แม้คุณจะมีการ storytelling เรื่องราวของแบรนด์หรือสินค้าได้อย่างเฉียบคม แต่ก็จงเป็นผู้ฟังและเป็นเพื่อนที่ดีที่พร้อมจะพูดคุยกับผู้บริโภคด้วย การน้อมรับ Feedback ที่กลับมาจากการ storytelling รวมถึงการตอบคอมเมนต์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดีย ถือว่าเป็นกลยุทธ์การสื่อสารที่ดี เป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง ซึ่งนั่นย่อมสร้างโอกาสในการขายและโน้มน้าวใจได้มากกว่าการสื่อสารทางเดียวแน่นอน ดังนั้น เล่าเรื่องแล้วอย่าเล่าผ่าน จะรับฟังแล้วสื่อสารกับพวกเขาด้วย ซึ่งนั่นจะทำให้คุณเข้าใจพวกเขาและสามารถที่จะเล่าเรื่องต่อไปได้อย่างน่าสนใจขึ้นและลดความผิดพลาดได้อีก
4.จะเล่าอะไรต้องให้ชัดว่าจะเล่าให้ใครฟังบ้าง
ในช่วงเริ่มแรกถ้าคุณยังจับทางลูกค้าไม่ได้ การ storytelling ของคุณอาจจะเป็นในรูปแบบกว้างๆ และทั่วๆไปก่อนได้ แต่เมื่อไหร่ที่เริ่มจับทางได้แล้วว่า ลูกค้าต้องการอะไร เรื่องเล่าแบบไหนที่จะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายอย่างได้ผล ก็จงปรับเรื่องเล่าของคุณให้เหมาะสมกับพวกเขาด้วย นอกจากจะปรับเรื่องเล่าแล้ว เวลาจะนำเสนอผ่านสื่อต่างๆก็ต้องระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนว่า เรื่องราวที่คุณจะนำเสนอเหมาะกับใคร กลุ่มไหน เพศไหนบ้าง การระบุกลุ่มเป้าหมายยิ่งทำให้กลุ่มเล็กลงได้ การสื่อสารของคุณก็จะยิ่งได้ผลดี เรื่องเล่าที่ดีไม่จำเป็นต้องดังถึงขนาดรู้จักทุกคน แต่เรื่องเล่าที่ดีคือเรื่องเล่าที่โน้มน้าวคนกลุ่มหนึ่งให้เขามาซื้อสินค้าได้
นี่คือปัจจัยที่คุณจะต้องมีประกอบกับการ storytelling ของคุณ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะยิ่งส่งเสริมการเล่าเรื่องแบรนด์และสินค้าของคุณให้โดดเด่นขึ้น รวมถึงจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ทำให้ยอดขายของคุณเพิ่มขึ้นด้วย ลองนำไปปรับใช้กันดู แล้วคุณจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น