Stay-at-Home Economy เมื่อกระแสคนอยู่บ้านกำลังกลายเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่

การอยู่บ้านกลายเป็นระบบการใช้ชีวิตใหม่และก่อให้เกิดระบบการจับจ่ายรูปแบบใหม่ขึ้นมา จะหาโอกาสจากสิ่งที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร และควรหากลยุทธ์การตลาดมาใช้อย่างไรบ้าง

stay-at-home-economy-and-marketing

ผลจากโควิด 19 ที่ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนต้องเปลี่ยนแปลงไป ตอนนี้ผู้คนตามเมืองใหญ่ ๆ เริ่มหันมาทำงานผ่านที่บ้านมากขึ้น แม้ว่าจะเป็นการสลับไปมาระหว่างการเข้าที่ทำงานกับการ Work from Home ก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับเลยว่าวิถีการใช้ชีวิตและรูปแบบการทำงานเปลี่ยนแปลงไปพอสมควรสำหรับบ้างคน รวมไปถึงองค์ธุรกิจบางบริษัทด้วย นั่นทำให้ภาคธุรกิจอย่าง SME คงต้องมองหาแนวทางใหม่ ๆ ที่จะปรับทั้งรูปแบบการทำงานและกลยุทธ์ธุรกิจ การวางแผนกลยุทธ์การตลาดก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนไปให้สอดรับกับวิถีที่เปลี่ยนไปนี้ด้วย

หากจะมองกันตามจริงไม่ใช่แค่คนวัยทำงานเท่านั้น ที่จะต้องใช้ชีวิตอยู่กับบ้านมากขึ้นกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด เยาวชนที่กำลังเรียนและศึกษาเองก็ต้องหันมาเรียนออนไลน์ผ่านที่บ้านมากขึ้นด้วย ซึ่งเหล่าก่อให้เกิดวงจรการใช้ชีวิตใหม่จนเกิดรูปแบบวงจรทางเศรษฐกิจใหม่ที่นักเศรษฐศาสตร์นิยามว่า Stay-at-Home Economy หรือ ระบบแห่งการกินใช้จับจ่ายจากภายในบ้าน และถ้าคุณเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการ SME ระบบเศรษฐกิจในวิถีนี้จะส่งผลอย่างไรกับคุณ ควรจะต้องมีการวางกลยุทธ์การตลาดเพื่อปรับธุรกิจอย่างไรกันต่อไปดี

 

ทำความเข้าใจวิถีชีวิตแบบ Hybrid

มนุษย์เราอย่างไรก็ยังเป็นสัตว์สังคม การที่จะอยู่แต่ในบ้านอย่างเดียวก็คงเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว กิจกรรมการงานบางอย่างทำจากที่บ้านก็อาจไม่ทำห้งานสมบูรณ์แบบได้ 100% นั่นจึงทำให้สังคมมนุษย์ในขณะนี้กลายเป็นวิถีแห่ง Hybrid คือจะต้องสลับการใช้ชีวิตระหว่างนอกบ้านกับในบ้านเป็นพัก ๆ รวมไปถึงสไตล์การซื้อขายจับจ่ายต่าง ๆ ก็จะผสมผสานระหว่างออฟไลน์และออนไลน์ไปพร้อม ๆ กันด้วย

ตอนนี้หลาย ๆ บริษัทหันมาใช้แนวทางการทำงานแบบ Hybrid แบบเต็มร้อยแล้ว คือให้พนักงานบางส่วน Work from Home บางบริษัทก็ใช้วิธีการสลับกันทำงานจากที่บ้าน เพื่อให้ที่ออฟฟิศลดความแออัดลง บางองค์กรก็อาจจะยืดหยุ่นกว่านั้น ใช้ระบบความสมัครใจ ใครจะเข้าออฟฟิศวันไหนก็ได้ แต่งานยังคงต้องไม่สะดุด นี่คือมิติของการทำงาน

work-from-home-new-normalพอคนมีโอกาสอยู่บ้านมากขึ้น ก็จะเกิดมิติแห่งการจับจ่ายอีกรูปแบบ คือ การซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ก็ปรับมาเป็น Delivery และ ช้อปออนไลน์กันมากขึ้น ซึ่งสังเกตได้อย่างชัดเจนว่า ช่วงระยะที่ผ่านมาตอนโควิดระบาดหนัก ๆ บริการ Delivery รวมไปถึงการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์เติบโตเร็วอย่างเห็นได้ชัดจริง ๆ

วิถีชีวิตแบบ Hybrid นี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทใหญ่อย่างยูนิลิเวอร์ สาขาในนิวซีแลนด์ ตอนนี้ให้พนักงานทดลองลดวันทำงานในออฟฟิศเหลือ 4 วัน/สัปดาห์ โดยเป็นการทดลองในช่วงระยะเวลา 1 ปีตั้งแต่ธันวาคม 2020 – ธันวาคม 2021 หลังจากนั้นก็จะมาดูประสิทธิภาพที่เปลี่ยนไป หรือบางบริษัทในสเปนก็เริ่มทำแบบเดียวกันด้วย ซึ่งการทดลองลดวันทำงานนี้ ในต่างประเทศมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยว่า “ประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่ดีของงาน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับชั่วโมงการทำงาน”  พวกเขาจึงใช้ช่วงเวลาแบบนี้เป็นการทดลองเพื่อดูผลลัพธ์กันเสียเลย

 

ระบบแห่งการกินใช้จับจ่ายจากภายในบ้าน

เมื่อเวลาทำงานลดลง เวลาอยู่บ้านมากขึ้น หรือบางคนทำงานเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนสถานที่ทำงานมาอยู่ที่บ้าน ไลฟ์สไตล์การจับจ่ายการบริโภคต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้นที่บ้านมากขึ้น (In-home Consumption) ซึ่งเมื่อรูปแบบเป็นแบบนี้มากขึ้นทั่วโลก ก็จะทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบ Stay-at-Home Economy ขึ้นมา

ซึ่งถ้าภาคธุรกิจตีโจทย์มองให้ดีจะพบว่า นี่เป็นตลาดที่ใหญ่มาก วิถีชีวิตแบบนี้มีอยู่ทั่วโลก แล้วสินค้าและบริการอะไรบ้างจากเรา ที่จะสามารถแทรกตัวเข้าไปตอบสนองวิถีชีวิตในแบบใหม่นี้ได้อย่างตรงจุดบ้าง นี่เป็นโจทย์ที่สำคัญของภาคธุรกิจในวันนี้ ซึ่งถ้าใครให้ช่องมองโฮกาสได้ก่อน วางแผนธุรกิจ คิดกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมได้ก่อน ย่อมจะทำให้ช่วงชิงความได้เปรียบทางการตลาดได้ก่อนนั่นเอง

 

แนวทางในการหาโอกาสจาก Stay-at-Home Economy

Ryan Lin ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Ipsos ได้มีการทำวิจัยในเรื่อง Stay-at-Home Economy จึงได้มีการสรุปออกมาเป็นแนวทางต่าง ๆ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการทั่วโลก เกี่ยวกับการปรับตัววางแผนปรับธุรกิจและหาโอกาสจากระบบเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นนี้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

1.โอกาสการขายอยู่ที่การนำเสนอข้อมูลที่รวดเร็ว

เนื่องจากอิทธิพลของโลกออนไลน์มีพลังอย่างมากในการโน้มน้าวจิตใจของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลแบบไหนก็ตาม ถ้านำเสนอได้อย่างเข้มข้นน่าสนใจ มีแรงดึงดูด คนก็พร้อมที่จะคล้อยตามได้เสมอ ยิ่งถ้าแบรนด์ไหนมีการใช้ Influencer เข้าช่วยยิ่งจะทำให้โน้มน้าวผู้บริโภคได้ง่าย แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการนั้น จะต้องรวดเร็ว เรียกว่าใครนำเสนอข้อมูลนี้ก่อน ก็จะได้ความมั่นใจจากลูกค้าไป ใครนำเสนอข้อมูลได้ก่อนก็จะได้โอกาสทางการขายไปในทันที ดังนั้น ถ้าอยากจะขายได้มีแค่ข้อมูลที่เข้มข้น หรือผู้นำเสนอที่ดึงดูดไม่พอจะต้องมีความรวดเร็วในข้อมูลด้วย

2.ทำความเข้าใจกระบวนการตัดสินใจซื้อ

ประการนี้เหมือนจะเป็นทฤษฎีแต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ สังเกตจากตัวเราเองก็ได้ ตอนนี้เราจะซื้อสินค้าอะไรจากโลกออนไลน์แม้จะอยากได้แค่ไหน เราก็จะไม่ซื้อทันที จะพิจารณาอยู่เป็นวัน ๆ เปรียบเทียบราคาและตัวสินค้า จากหลายๆแหล่ง ถึงจะตัดสินใจซื้อ เมื่อผู้บริโภคเป็นเช่นนี้ ภาคธุรกิจจึงโฟกัสอยู่บนออนไลน์เพียงอย่างเดียวไม่ได้ อย่าลืมว่าสินค้าบางอย่างที่มีความพรีเมียมราคาแพง ผู้บริโภคต้องการเห็นของจริง จับต้องจริง ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ สินค้าบางอย่างจะต้องมีการทดลองใช้ก่อนด้วย

path-to-purchaseดังนั้น ภาคธุรกิจจำเป็นที่จะต้องผสานเอาความเป็นออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกันให้เกิดสมดุล เพราะคนอยู่บ้านมากขึ้นก็จะยิ่งมีเวลาในการตัดสินใจซื้อสินค้ามากขึ้นกว่าเดิม ต้องพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้ามาเห็นสินค้าจริงด้วย หรือถ้าจะขายออนไลน์จะอยู่บนโซเชียลทีเดียอย่างเดียไม่ได้อีกต่อไป การมีหน้าร้านออนไลน์แบบเป็นรูปธรรมนำเสนอสินค้าผ่านแพลตฟอร์มการค้าที่เป็นทางการ สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้เป็นสิ่งสำคัญมาก หากจะจะโฟกัสไปที่ออนไลน์ และอีกสิ่งที่สำคัญก็คือ จะต้องมีการใช้ทุกกลยุทธ์การตลาดแบบผสมผสาน ทั้งการจัดโปรโมชั่น ส่วนลด การรับประกัน ที่สิ่งเหล่านี้จะมาเพียงระยะสั้นไม่ได้อีกต่อไป ทุกอย่างจะต้องทำให้นานขึ้น เพราะลูกค้าจะใช้เวลาตัดสินใจนานขึ้น

3.ความบันเทิงภายในบ้านเป็นโอกาส

สำหรับใครที่คิดจะเริ่มธุรกิจใหม่ แต่ยังไม่รู้ว่าจะจับธุรกิจไหนที่จะตอบโจทย์ Stay-at-Home Economy ที่น่าสนใจที่สุดในตอนนี้ก็คือ ธุรกิจที่สามารถตอบสนองความบันเทิงภายในบ้าน ไม่จำเป็นที่เราจะต้องลงทุนไปพัฒนาแอปเพื่อความบันเทิงแบบบริษัทใหญ่ ๆ แต่การหยิบจับสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตอบสนองความบันเทิงก็ถือว่าทดแทนกันได้ อย่างทีวี เครื่องเสียง หูฟังพรีเมียม คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน ถ้าทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกบสิ่งเหล่านี้ก็จะมีโอกาสได้ลูกค้ามาอย่างต่อเนื่อง

4.เพิ่มประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการจับจ่าย

ต้องลองพิจารณาดูว่า ธุรกิจคุณสามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการซื้อสินค้าและบริการให้กับลูกค้าได้บ้าง ถ้าบริษัทไหนองค์กรไหน เป็นองค์กรที่พัฒนาเรื่องเทคโนโลยีอยู่แล้ว ก็อาจจะหยิบจับเทคโนโลยีแนว AR – VR มาประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์การตลาดและการขาย ส่วนธุรกิจไหนที่เป็นธุรกิจทั่วไป การพัฒนาช่องทางหรือเพิ่มแพลตฟอร์มการขายที่สะดวกกับลูกค้า ช่วยให้ลูกค้าซื้อง่ายขึ้น จ่ายเงินง่ายขึ้น และมั่นใจได้มากขึ้นว่าร้านค้าของเราไว้ใจได้ไม่หลอกลวง การปรับปรุงเว็บไซต์ของบริษัทให้เข้าถึงได้เร็วขึ้น มีความสวยงามขึ้น ดูงานอ่านง่ายขึ้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่สามารถตอบโจทย์ยุคแห่ง Stay-at-Home Economy ได้เหมือนกัน

 

เหล่านี้เป็นแนวทางที่อยากจะมาเล่าให้กับทุกท่านได้รับรู้กันไว้ เพราะเป็นโอกาสที่เราจะต้องรีบคว้าและรีบเข้าไป ยุคนี้ใครรู้ก่อน เข้าถึงก่อนก็จะได้เปรียบที่สุด เรารู้แล้วว่าโลกกำลังเปลี่ยน ดังนั้น เราจะเปลี่ยนไปด้วยไหม หรือจะอยู่รอดูทีท่าต่อไปก่อน ทั้งหมดอยู่ที่คุณตัดสินใจ แต่จงระวังไว้เพราะการก้าวทีหลังเราก็มักจะเป็นผู้ตามเสมอ


ข้อมูลอ้างอิง: BBC