Storytelling เทคนิคสำคัญในการสร้างแบรนด์ให้สื่อสารอย่างมีพลัง

เทคนิค Storytelling เป็นกลวิธีหนึ่งในการช่วยสร้างแบรนด์ และช่วยให้แบรนด์สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้อย่างมีพลัง

การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและจดจำได้ในความคิดของผู้บริโภคนั้นมีหลายอย่างที่จะต้องทำ แต่ไม่ใช่แค่การมีโลโก้ มีชื่อบริษัท มีแพคเกจจิ้งแล้วจะถือว่าการสร้างแบรนด์นั้นเสร็จสมบูรณ์ การสื่อสารเพื่อบอกให้รู้ว่าแบรนด์ของคุณนั้นถูกสร้างขึ้นมาทำไม สร้างเพื่ออะไร และทำไมผู้บริโภคควรซื้อสินค้าของคุณนี่สิสำคัญ และเป็นสิ่งที่จะช่วยให้แบรนด์ของคุณเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ซึ่งการจะเรียกร้องให้ผู้บริโภคหันมาสนใจแบรนด์ของคุณได้ เทคนิค Storytelling เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถจะช่วยคุณได้เป็นอย่างดี

 

สื่อสารเรื่องแบรนด์อย่างมีพลังด้วย Storytelling

วิธีการที่จะทำให้ผู้คนสนใจแบรนด์ของคุณมากขึ้นและทำได้อย่างแยบยลก็คือ การใส่กลยุทธ์เล่าเรื่อง หรือ Storytelling ลงไปในแบรนด์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็น brand story หรือการเล่าเรื่องความโดดเด่น จุดเด่นในผลิตภัณฑ์หรือบริการของแบรนด์ ซึ่งการจะเล่าเรื่องของแบรนด์นั้น ไม่ใช่ว่าใครก็เล่าได้ เรื่องนี้เจ้าของแบรนด์เองก็น่าจะรู้ดี บางทีแบรนด์มีเรื่องรางในตัวเอง แต่ก็ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างมีพลังและให้ดูน่าสนใจไม่ได้ เรื่องนี้จึงต้องมีการอาศัย Creative หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการเล่าเรื่องมาช่วย Storytelling แต่งเติมเสริมเรื่องราวและถ่ายทอดออกไปสู่สาธารณะให้ดูมีเบื้องลึก เบื้องหลัง ทำให้แบรนด์ดูมีน้ำหนัก มีจุดเด่น ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์มีความต่างภายในจากเรื่องเล่าที่น่าสนใจ

brand-story-branding-593099-concentrateจริงๆแล้วการให้ Creative เข้ามาช่วย Storytelling สร้างสรรค์เรื่องราวให้กับแบรนด์นั้นมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการโปรโมทแบบทั่วไป เพราะการโปรโมทแบบทั่วไปไม่ว่าจะใช้ช่องทางไหนก็ตาม หากมาอย่างเรียบๆก็จะกลายเป็นงานทั่วไป ที่ดูไม่แตกต่างและไม่สะดุดใจผู้ชม จึงทำให้ไม่มีพลังในการดึงดูดและสื่อสาร นั่นทำให้ผลตอบรับที่กลับมาไม่ “ปัง” อย่างที่คิด นั่นเพราะลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย รู้สึกว่าถูก “ยัดเยียด” ให้รู้มากเกินไป ดังนั้น แบรนด์จึงต้องใส่ความ Creative ลงไปสักเล็กน้อยให้กับแบรนด์ผ่านเรื่องเล่าที่มีสีสันและมีความต่าง ซึ่งจะทำให้ลูกค้ารู้สึกมีส่วนร่วมกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น

 

brand story จะช่วยให้แบรนด์มี Positioning ที่ชัดเจน

หลายคนพอเริ่มสร้างธุรกิจ สร้างแบรนด์ของตนเอง ก็มีความคิดทางหนึ่ง แต่พอทำๆไปเริ่มเจอปัญหาอีกแบบก็คิดแก้ไขปัญหาไปเรื่อยๆจนกลายเป็นว่าทิศทางของการทำงานเปลี่ยนแปลง จนมาทีกลับมามองย้อนหลังเทียบกลับปัจจุบัน ความเป็นแบรนด์ดั้งเดิมแทบไม่หลงเหลืออยู่เลย ซึ่งนี่คือความสำคัญของการมี brand story ถ้าคุณมีเรื่องราวของแบรนด์ที่ชัดเจน ก็เท่ากับเป็นการกำหนดกรอบที่ชัดเจนให้กับแบรนด์ว่าจะไปในทิศทางไหน และอย่าลืมที่จะเสริมเรื่องราวของแบรนด์ด้วยการ Storytelling อยู่เสมอๆก็ยิ่งทำให้แบรนด์ดูไม่เป๋ไปเป๋มา

อันที่จริงแล้วจุดเริ่มต้นของ brand story อาจมาจากการ Storytelling หรือการสร้างเรื่องเล่าก่อนก็ได้ ใส่ความสร้างสรรค์ลงไปในการเล่าเรื่อง ก็จะเกิดเรื่องเล่าของแบรนด์ที่ดูแล้วแปลกแตกต่าง ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยเสริมหรือเป็นการกำหนด Positioning ที่ชัดเจนให้กับแบรนด์ด้วยนั่นเอง

 

การทำธุรกิจควรจะต้องมากด้วย “คุณค่า”

แน่นอนว่าการสร้างแบรนด์ทำธุรกิจ สิ่งสำคัญก็คือ ยอดขายและกำไร แต่ปัจจุบันธุรกิจไหนที่มองแต่เรื่องของกำไรเพียงอย่างเดียว ก็ดูเหมือนว่าจะยืนระยะไปได้ไม่นานนัก และภาพลักษณ์ของแบรนด์ก็มักจะถูกมองในเชิงลบเสียน้อย ฉะนั้น แบรนด์ยุคใหม่จึงต้องมีการเพิ่ม “คุณค่า” ลงไปในแบรนด์ของตนเองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งบางทีการเพิ่มคุณค่าโดยการปรับผลิตภัณฑ์หรือการบริการก็อาจจะไม่สะดวกนักสำหรับแบรนด์ หากเจอปัญหาในลักษณะนี้เทคนิค Storytelling ก็ช่วยได้ เพราะเราใช้วิธีการมอบคุณค่าให้กับผู้บริโภคผ่านเรื่องราวที่น่าสนใจได้ จะสอดแทรกไปกับผลิตภัณฑ์หรือจะทำแยกออกมาเดี่ยวๆก็ได้ซึ่งสะดวกกว่าการไปปรับตัวผลิตภัณฑ์หรือการบริการเยอะ

หากแบรนด์ไหนสามารถเพิ่มคุณค่าจากการปรับผลิตภัณฑ์และการบริการได้ก็ตาม สิ่งสำคัญที่จะมองข้ามไม่ได้ก็คือ จะทำอย่างไรให้ผู้บริโภครู้ว่าเราได้เพิ่ม “คุณค่า” ให้กับพวกเขาแล้ว ก็ต้องมีการสื่อสารบอกผู้บริโภค ซึ่งวิธีการที่จะทำให้ “คุณค่า” ที่ใส่ลงไปนั้นดูมีความพิเศษและโดดเด่นขึ้นอีกก็จะต้องอาศัยเทคนิค Storytelling เข้าช่วย ยิ่งมีเรื่องเล่าแปลก ๆ ยิ่งทำให้การสื่อสารมีพลังมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

 

Storytelling ช่วยสื่อกับคนใน และได้ใจคนนอกไปพร้อมกัน

การจะทำ Storytelling นั้นจะต้องมีการกำหนดคอนเซ็ปต์ มีการกำหนดธีมเอาไว้ก่อนอยู่แล้วว่าจะเล่าเรื่องอะไร เล่าแบบไหน ซึ่งอย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่า สิ่งนี้เท่ากับเป็นการกำหนดกรอบและทิศทางให้กับแบรนด์ว่าจะเดินไปทิศทางไหน กำลังทำอะไรและจะไปอย่างไรต่อนับจากนี้ ซึ่งมีการกำหนดกรอบแบบนี้ก็เท่ากับเป็นการช่วยให้คนในองค์กรได้รับรู้อย่างตรงกันว่า ตอนนี้แบรนด์กำลังจะทำอะไร ขายอะไรบ้าง มีความสำคัญหรือจุดเด่นอย่างไร เรียกว่า การ Storytelling มีส่วนช่วยอย่างมากในการสื่อสารกับคนภายในองค์กร

Communicate -with-storytelling

ในขณะเดียวกันการมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับแบรนด์และผลิตภัณฑ์ก็จะช่วยสื่อสารกับผู้บริโภคไปด้วยเรียกว่าเป็นการทำครั้งเดียวแต่ตอบโจทย์การสื่อสารคนทุกกลุ่มทั้งภายในและภายนอก สิ่งที่เป็นประโยชน์เช่นนี้ก็ไม่แปลกที่จะต้องใช้เวลาและความพิถีพิถันในการคิด และงานแบบนี้ลงทุนกับมันสักหน่อยก็น่าจะคุ้มค่า กว่าการมีโลโก้เฉยๆแล้วบอกว่าเป็นแบรนด์ของเรา คุณว่าจริงไหม

 

ดังนั้น หากจะสรุปว่าการ Storytelling เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการสื่อสารก็อาจจะกล่าวได้ แต่สิ่งนี้ไม่ได้ช่วยให้เกิดความเข้าใจตรงกันเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้รับสารทุกฝ่ายสามารถรับรู้และเข้าใจความเป็นแบรนด์ของคุณไปในทิศทางเดียวกันได้ด้วย เมื่อเทคนิคเป็นกลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารที่สร้างแรงดึงดูดได้อย่างมีพลังขนาดนี้ คุณจะไม่ทดลองใช้กับแบรนด์ของคุณกันสักหน่อยเชียวหรือ