ต้องยอมรับว่าสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมไทยเราในวันนี้ยังก้าวไปไม่ถึงยุค 4.0 อย่างแท้จริง ส่วนมากแล้วก็ยังติดอยู่ในขั้น 3.0 เท่านั้น ซึ่งการแข่งขันยุคใหม่นั้นใครที่กล้าตัดสินใจลงทุนกับระบบ “Automation” หรือ ระบบอัตโนมัตินั้นดูจะมีความได้เปรียบมากกว่าและพลังในการแข่งขันก็จะมีสูงกว่าคู่แข่งหลายเท่าตัว ซึ่งผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังวางแผนจะปรับกลยุทธ์องค์กรให้ก้าวไปสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 อย่างแท้จริง ก็ควรจะต้องเข้าใจกฎพื้นฐาน 5 ประการของการวางระบบ Automation เสียก่อนเพื่อที่จะได้ปรับระบบบริหารองค์กรในภาพรวมทั้งหมดให้สอดคล้องได้

1. คิดแบบคอมพิวเตอร์

คำว่า Automation ดูจะสื่อเหมือนกับว่าทำอะไรได้รวดเร็วสะดวกไปเสียทั้งหมด ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้น ทุกอย่างไม่ได้ดูอิสระอย่างที่หลายคนเข้าใจ หากเปรียบเรื่องนี้กับคอมพิวเตอร์จะให้เก่งแค่ไหนฉลาดอย่างไร คอมพิวเตอร์ก็ยังมีข้อจำกัดในการประมวลผล มีขีดความสามารถของฮาร์ดแวร์ CPU ไม่แรง Ram น้อย ก็จะหวังให้เกิดการประมวลผลที่เร็วไม่ได้ ก็เช่นกัน ผู้ประกอบการต้องสำรวจปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจของตนเองก่อนว่า มีความพร้อมแค่ไหน มีทุนทรัพย์และทรัพยากรด้านต่างๆมากพอที่จะขยายไปสู่ระบบ Automation ได้มากน้อยแค่ไหน

2. ทำแบบเครื่องจักร

การทำแบบเครื่องจักรก็คือ การออกแบบการทำงานให้มีมาตรฐานไปในทิศทางเดียวและมีความต่อเนื่อง แบบเดียวกับที่เครื่องจักรทำ ยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นภาพระหว่างโรงงานประกอบรถยนต์กับ โรงงานผลิต iPhone ของ Apple สองโรงงานนี้จะมีแนวทางต่างกันอย่างสิ้นเชิง จริงอยู่ว่าโรงงานประกอบรถยนต์ก็มีมาตรฐาน แต่มาตรฐานหรือกระบวนการประกอบนั้น แต่ละแห่งแต่ละค่ายนั้นจะไม่เหมือนกัน บางแห่งหลังจากติดตั้ง Chassis แล้ว อาจส่งไปติดตั้งเบาะ บางแห่งก็อาจส่งต่อไปติดตั้งเครื่องยนต์ก่อน เป็นไปได้หลายทิศทางและรูปแบบ แต่สำหรับโรงงานผลิต iPhone นั้นต่างออกไป Apple กำหนดมาตรฐานชัดเจนว่าอะไรจะต้องประกอบก่อน – หลัง โดยคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นหลัก ซึ่งเราจะสัมผัสได้เพราะเมื่อเปิดกล่องผลิตภัณฑ์ iPhone ของ Apple เราจะพบเครื่องสวยๆอยู่ด้านบน และจะไล่เรียงลำดับอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆตามลำดับความสำคัญลงไป ซึ่งจะเห็นว่าวิธีการแบบ Apple จะเรียบง่ายแต่ให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจกว่า เป็นแบบ Automation ที่แท้จริง มีมาตรฐานไปในทิศทางเดียวและมีความต่อเนื่องแบบเสร็จสรรพในตัวไม่ต้องพัฒนาระบบอะไรให้วุ่นวายอีก

3. ปลอดภัยและรัดกุม

Automation แม้จะให้ความสะดวกรวดเร็วได้ แต่ถ้าไม่ปลอดภัยรัดกุมก็ไม่ถือว่าเป็น Automation อย่างแท้จริง อย่างแพ็คและจัดเก็บสินค้า ไม่ว่าจะเข้าคลังหรือเพื่อการขนส่งต่อ ก็จะทำการขนย้ายก็ควรจะมีการพันพาเลท ด้วยเครื่องพันพาเลทให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อให้วัสดุสินค้าไม่เกิดการปนเปื้อน ไม่ถูกละอองฝุ่นหรือความชื้น ซึ่งเครื่องมือชนิดนี้ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Automation เช่นกันเพราะทำงานอย่างอัตโนมัติและเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สินค้าเกิดความปลอดภัยมีการจัดเก็บได้อย่างรัดกุมมากขึ้น

4. ตรวจเช็คได้แบบเรียลไทม์

Automation ไม่ใช่แค่เรื่องของเครื่องจักรหรือแขนกล แต่ยังหมายรวมไปถึงระบบติดตามความเคลื่อนไหว ทั้งกล้องวงจรปิด และ GPS ด้วย ซึ่งการที่เรา คู่ค้าหรือผู้บริโภคสามารถติดตามตรวจสอบสถานะของสินค้าได้แบบเรียลไทม์นั้น ทำให้เกิดข้อผิดพลาดต่างๆได้น้อยลง ส่งผลดีต่อธุรกิจแน่นอน

5. อย่ามองข้ามเรื่องบรรจุภัณฑ์

การบรรจุภัณฑ์และการแพ็คสินค้าอย่างแน่นหนาและรัดกุมเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ หากสินค้าเสียหายระหว่างเส้นทางขนส่งเพราะกล่องเปิด สินค้าหลุดกระจายออกนอกกล่อง ย่อมนำมาแต่ผลเสีย การหาเครื่องรัดกล่องและสายรัดพลาสติกมาช่วยผนึกกล่องให้แน่นหนา ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเครื่องมือเหล่านี้ก็จัดว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของระบบ Automation เช่นกันทำให้บรรจุภัณฑ์มีมาตรฐานมากขึ้นและสินค้าภายในเกิดความปลอดภัยอีกด้วย

นี่คือกฎพื้นฐาน 5 ประการของการวางระบบ Automation สำหรับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและกลุ่มโลจิสติกส์ เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้เอาไว้เพื่อให้องค์กรสามารถขยับเข้าไปสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างแท้จริงนั่นเอง