เป็นธรรมดาของโลกธุรกิจที่จะต้องเกิดการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่ลงตัว เพราะคงไม่มีใครจะมาลงทุนอะไรให้ใครแบบฟรีๆ ล่าสุดมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของจีนอย่าง แจ็ค หม่า ก็เผยไต๋เรื่องการลงทุน EEC ในไทย ขอซื้อที่ดินในไทยแลกเปลี่ยนการลงทุนใน EEC

Alibaba-jack-ma-thai-government-sign-mou-ecc-digital-hub-p05แจ็ค หม่า ประธานกรรมการบริหาร และผู้ก่อตั้งอาลีบาบา กรุ๊ป ได้มีการเดินทางมาเยือนไทยและได้ทำการลงนามบันทึกความเข้าใจภายใต้กรอบความร่วมมือ Smart Digital Hub and Digital Transformation Strategic Partnership จำนวน 4 ฉบับกับรัฐบาลไทย เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 61 ที่ผ่านมา ซึ่งหนึ่งในเรื่องที่น่าสนใจในสัญญาความร่วมมือนี้ก็คือ เรื่องความร่วมมือด้านการลงทุน Smart Digital Hub ในพื้นที่ EEC ข้อตกลงในเบื้องต้นนั้น แจ็ค หม่า เจรจาเป็นการ “เช่าที่ดิน” เพื่อลงทุนในไทย แต่ล่าสุดนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเยือนจีน เพื่อเข้าชมงาน International China Import-Export  ก็ไม่พลาดจะเข้าเจรจาต่อกับแจ็ค หม่า ผลปรากฎว่าคราวนี้การเจรจาเรื่องของการ transform ประเทศไทยสู่ digital 4.0 มีการเปลี่ยนแปลง เพราะแจ็ค หม่ายื่นข้อเสนอใหม่โดยเปลี่ยนจากการ “เช่าที่ดิน” มาเป็นขอ “ซื้อที่ดิน” ในไทยเพื่อแลกกับการลงทุนใน EEC

โดยแจ็ค หม่า ให้เหตุผลว่า เขามีความต้องการให้ประเทศไทยเป็น hub logistic ที่มากกว่าการเป็น hub ธรรมดาๆ ตามความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยและจีน รวมถึงการสร้างศูนย์พัฒนาบุคลากรไทย-จีน ที่เชื่อมสายสัมพันธ์ทางธุรกิจการค้ากับไทยในระยะยาว ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบริษัทอาลีบาบาได้ทำข้อตกลงกับภาคเอกชนคือ บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA เพื่อขอเช่าพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมของ WHA ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา สำหรับพัฒนาเป็นเขตส่งเสริมธุรกิจอีคอมเมิร์ซและสมาร์ทโลจิสติกส์

เมื่อข้อเสนอเป็นแบบนี้ จึงเป็นภาระหนักของไทยที่จะต้องกลับมานั่งทบทวนพิจารณากันอีกหลายเรื่อง ที่สำคัญที่สุดเลยก็คือ การติด “ล็อค” เรื่องของกฎหมาย เพราะการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีกฎระเบียบตามพ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2561) กำหนดอยู่ ซึ่งมาตรา 52 มีการกำหนดไว้ว่า นักลงทุนจะไม่สามารถใช้กฎหมายฉบับนี้เพื่อการ “ซื้อ” ที่ดินลงทุนได้ แต่จะทำได้เพียงการ “เช่า” พื้นที่ตามกฎหมายเท่านั้นคือ แบ่งการอนุมัติให้เช่าออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกอนุมัติระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 50 ปี และระยะที่สองสามารถต่ออายุการเช่าได้อีกไม่เกิน 49 ปี เมื่อรวม 2 ระยะแล้วไม่เกิน 99 ปี

a93582cce14c6347fd5c7d58b3ad069b_Lแต่ใช่ว่าการซื้อที่ดินเพื่อลงทุนใน EEC จะเป็นไปไม่ได้เลย นางสาวพจณี อรรถโรจน์ภิญโญ รองเลขาธิการคณะกรรมการ EEC กล่าวว่า นักลงทุนที่มีความต้องการซื้อที่ดินเพื่อลงทุนในพื้นที่ EEC นั้น “สามารถทำได้” โดยมีช่องให้ใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แต่ต้องทำตามเงื่อนไขที่ BOI กำหนด เช่า เรื่องของเงินลงทุนส่วนใหญ่จะสูงเป็นระดับหลายๆพันล้านบาท กล่าวง่ายๆก็คือ ถ้าจะต้องมีการซื้อที่ดินเพื่อลงทุนใน EEC จะต้องใช้กฎหมายฉบับอื่นที่ว่าด้วยเรื่องของการขายที่ดิน เช่น กฎหมายที่ดินเพื่อนำมาพิจารณาเพื่อขอซื้อที่ดินแทนกฎหมาย EEC เพื่อลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวที่นักลงทุนสนใจ

อย่างไรก็ตาม การใช้ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป กล่าวคือ พ.ร.บ. EEC ให้สิทธินักลงทุนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินใน “เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ” ด้วยการ “เช่า” แต่เป็นระยะเวลายาวนานถึง 1 ชั่วอายุคนคือ 49+50 ปี พร้อมกับได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ อาทิ การ “ยกเว้น” หรือลดหย่อนภาษีเป็นกรณีพิเศษ, ยกเว้นการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา ฯลฯ ส่วน พ.ร.บ. BOI ให้สิทธินักลงทุนต่างด้าวในการ “ซื้อที่ดิน” ได้ แต่จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามประเภทกิจการนั้นๆเท่านั้น