ไอเดียสร้างตัวละครเพื่อการเขียน Storytelling | EP.7

จะเขียน Storytelling ต้องรู้จักสร้างตัวละคร เพื่อให้เรื่องดำเนินไปได้ มาคุยกันเรื่องไอเดียในการสร้างตัวละครเพื่อให้เล่าเรื่องได้อย่างต่อเนื่องและสนุกสนานกัน

2929
How-To-Create-A-Great-Character-fot-storytelling

Content Writing 101 : Ep.7

ประเด็นที่น่าสนใจ

  • จะสร้างตัวละครเพื่อการเขียน Storytelling ต้องรู้จักรูปแบบของตัวละคร ตัวละครอาจมีมิติเดียวก็ได้หรือหลายมิติในตัวละคร 1 ตัวก็ได้
  • ให้คิดเสมอว่าตัวละครก็คือ คนๆหนึ่ง แล้วคุณจะสร้างตัวละครออกมาได้อย่างไม่จำกัดเลย เพราะทุกสิ่งทุกอย่างทุกคนที่อยู่รอบข้างและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับคุณล้วนเป็นตัวละครในเรื่องเล่าของคุณได้ทั้งสิ้น

อย่างที่เคยกล่าวไปใน EP. ก่อนๆครับว่า การเขียน Storytelling ก็คือศาสตร์เดียวกันกับการทำหนังทำละคร หรือแต่งนิทาน และในทุกๆStoryย่อมจะต้องมีผู้ดำเนินเรื่อง ซึ่งนั่นก็คือ ตัวละครหรือ Characterนั่นเองครับ ใน Ep. นี้เราจึงจะมาคุยกันเรื่อง การสร้างตัวละครเพื่อการเขียน Storytelling ซึ่งผมพอจะมีความรู้เรื่องนี้จึงอยากจะมาแชร์ไอเดียให้ทราบกันครับ

รูปแบบของตัวละคร

ตัวละครที่พบทั่วไปไม่ว่าจะในบทภาพยนตร์โฆษณาสินค้า หนังละคร หนังสือนิยาย หรือบทความที่เขียน Storytelling เกี่ยวกับธุรกิจเพื่อการโฆษณาสินค้าก็ตาม จะมีอยู่ 2 แบบ คือ

ตัวละครมิติเดียว (typed character) :

เป็นตัวละครที่มีลักษณะเป็นแบบตายตัวครับ คือภาพของตัวละครจะมองเห็นได้เพียงด้านเดียว และมักมีลักษณะนิสัยตามแบบฉบับที่นิยมใช้กันในบทละครทั่วๆไป เช่น “พระเอก” หรือ “ตัวอิจฉา” (ให้นึกถึงละครในบ้านเราครับ)ตัวละครเหล่านี้ไม่ว่าจะอยู่ในบทละครเรื่องใด มักมีลักษณะคล้ายๆกัน แทบจะเป็นสูตรสำเร็จ และบทบาทที่จะกระทำ ก็เป็นสิ่งที่ผู้ชมคาดหมายไว้สำหรับตัวละครนั้นๆได้ ยังตัวอย่างเช่น พระเอกในเรื่อง “ทัดดาวบุษยา” อย่าง “เจ้ายอดขวัญ” หรือเจ้าน้อย ที่เป็นพระเอกทุกกระเบียดนิ้ว แม้นางเอกสุดสวยอย่าง “ทัดดาว” (ในเรื่องสวยขนาดได้เป็นนางงามประจำจังหวัดเชียงใหม่)ปลอมตัวเป็นผู้ชายใช้ชื่อ “สุทัศน์” เจ้าน้อยก็ยังดูไม่ออก จะเห็นว่าcharacter ของตัวเอกจะตรงๆมีด้านเดียว แบบนี้เป็นต้น

sample-create-character
Photo: ch3thailand.com

ตัวละครหลายมิติ (well – rounded character) :

ตัวละครประเภทนี้มีความลึกซึ้ง และเข้าใจยากกว่าตัวละครที่มีลักษณะตายตัวครับ ลักษณะคือจะRealกว่า ดูจริง ดูเหมือนคนที่เราพบเห็นได้ทั่วไปในสังคมและชีวิตจริงๆครับ ซึ่งจะมีหลายมุมให้เราได้มองและทำความเข้าใจ มีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย ตัวละครประเภทนี้จะมีพัฒนาการด้านนิสัยใจคอ หรือมีการเปลี่ยนแปลงเจตคติเกี่ยวกับสิ่งต่างๆในชีวิต และจะค่อยๆเผยออกมาในการดำเนินเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น ตัวละคร 2 ตัวจากซีรีส์ Marvel Agents of S.H.I.E.L.D. อย่าง “แกรนท์ วอร์ด” (Grant Ward) เจ้าหน้าที่ชายระดับ 7 ที่เชี่ยวชาญการต่อสู้ และ “สกาย” (Skye) สาวน้อยแฮกเกอร์ยอดฝีมือ

Marvel Agents of S.H.I.E.L.D.
Photo: Marvel Entertainment

ทั้งสองตัวละครมาในซีซั่นแรกแบบธรรมดามีมิติเดียว ไม่มีอะไรหวือหวา และเกือบจะเป็นคู่จิ้นกันแล้วด้วย แต่แล้วทุกอย่างก็มาเปลี่ยนไปในปลายซีซั่น 2 เรื่องเริ่มเฉลยให้เห็นว่า แกรนท์ วอร์ด แท้ที่จริงแล้วเป็นสายลับให้กับฝ่ายตัวร้าย เล่นเอาคนดูเซอร์ไพรส์ไปตามๆกัน และ สกายเองก็มาถูกเฉลยว่าเธอไม่ใช่แค่สาวน้อยแฮกเกอร์แต่เธอคือผู้มีพลังพิเศษอะไรบางอย่างในตัวเธอ เรียกว่าเป็นมิติในตัวละครที่ไม่มีใครคาดถึง อย่างนี้เป็นต้น

create-character-01
ตัวละคร แกรนท์ วอร์ด(Grant Ward) จาก ซีรีส์ Marvel Agents of S.H.I.E.L.D.

create-character-02 (1024x576)
ตัวละคร สกาย (Skye) จากซีรีส์ Marvel Agents of S.H.I.E.L.D.

ตัวละครต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ตัวละครคือสิ่งสำคัญของการ Story telling การจะสร้างตัวละครขึ้นมาสัก 1 character เพื่อเขียน Storytelling ก็ต้องกำหนดให้มีสิ่งต่างๆดังนี้

1.รูปลักษณ์ภายนอก หมายถึงรูปร่างหน้าตา เพศ อายุ สูงต่ำ ดำขาวอย่างไร กิริยาอาการเฉพาะตัวเป็นอย่างไร

2.สถานะทางสังคม หมายถึงอาชีพ ฐานะ ความเชื่อทางศาสนา ความเกี่ยวพันในครอบครัวและสังคมแวดล้อม

3.จิตวิทยารวมถึงภูมิหลัง ที่มีส่วนกำหนดนิสัยใจคอ ทัศนคติ ความปรารถนาในส่วนลึก ความชอบความเกลียด

4.คุณธรรม หมายถึงสำนึกและความละอายต่อบาป ความยุติธรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี

เหล่านี้เป็นไอเดียสร้างตัวละครเพื่อการเขียน Storytelling ใครที่กำลังฝึกหัดเขียนคอนเทนต์ เขียนนิยาย หรือต้องการเป็นนัก Story telling ที่ดีลองนำไปเป็นไอเดียและจุดเริ่มต้นในการฝึกหัดกันดู การเขียน Storytelling ยังมีองค์กระกอบอีกมากมายติดตามกันได้ใน Ep. ถัดๆไปกันนะครับ