ไอเดีย Storytelling อยากรู้ไหมว่าธุรกิจคุณเล่าเรื่องราวอะไรได้บ้าง

Storytelling เป็นเทคนิคเชื่อมโยงลูกค้าเข้าหาธุรกิจคุณแบบเนียน ๆ แต่ถ้าคุณยังไม่มีไอเดียว่าจะเล่าอะไรให้ลูกค้าฟังดี ลองมาหาแนวทางดี ๆ ไปด้วยกัน

707

การทำธุรกิจในยุคนี้สิ่งที่จะช่วยทำให้ตัวธุรกิจสามารถเชื่อมโยงไปถึงลูกค้าได้ก็คือ เรื่องของ Content Marketing การทำคอนเทนต์เป็นสิ่งที่ช่วยได้มาก โดยเฉพาะถ้าคุณสามารถที่จะใช้เทคนิค Storytelling ใส่ลงไปในคอนเทนต์ก็จะยิ่งทำให้การสื่อสารนั้นดูดึงดูดและมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น แต่คนทำธุรกิจส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าจะเล่าเรื่องราวอะไรดี ควรจะต้องเล่าเกี่ยวกับธุรกิจของตนเองหรือเปล่า หรือเล่าเรื่องของสินค้าดี ถ้าคุณสงสัยเราจะมาไขคำตอบนั้นให้คุณ

 

1.Storytelling เรื่องราวของลูกค้าเราบ้างก็ได้

เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ มักจะมีชุดความคิดที่ติดอยู่ในธุรกิจตนเองอย่างเดียว ทำให้เวลาเราจะเล่าเรื่องของธุรกิจเพื่อสื่อสารเชื่อมโยงไปถึงลูกค้าทำได้ยาก เพราะธุรกิจบางประเภทก็หาเรื่องมาเล่าสำหรับทำคอนเทนต์ยากจริง ๆ เช่นธุรกิจที่เป็นอุตสาหกรรม ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรม อะไรทำนองนี้ ซึ่งเป็นธุรกิจเฉพาะทางที่บางทีตัวสินค้าและบริการจบในตัวเองอยู่แล้วไม่ต้องมีการอธิบายเพิ่มเติม

หากคุณดำเนินธุรกิจในแนวนี้ ก็อยากจะแนะนำว่าว่าให้คุณลอง Storytelling เรื่องราวของลูกค้าแทนก็ได้ คือ นำประเด็นปัญหาของลูกค้ามาเล่า ซึ่งตรงนี้คุณอาจจะจับประเด็นมาจากฝ่ายขายของบริษัทดูก็ได้ ลองรวบรวมข้อมูลดูว่าลูกค้าเรามี pain point เรื่องอะไรบ้าง หากสินค้าและบริการของเราตอบโจทย์ pain point ของลูกค้าพอดี ก็นำประเด็นตรงนี้มาขยายเป็นเรื่องเล่าได้เลย

storytelling-customer-pain-pointหรืออีกหนึ่งลักษณะ จะ Storytelling ถึงเรื่องราวที่คิดว่าลูกค้าเราทำ หรือให้ความสนใจก็ได้ อย่างสมมุติว่าลูกค้าเป็นกลุ่มธุรกิจอาหาร คุณไม่จำเป็นต้องเล่าเรื่องธุรกิจของตัวเอง แต่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับธุรกิจของลูกค้าก็ได้ เช่น ธุรกิจอาหารต้องเจอกับปัญหาอะไรบ้าง การคัดเลือกวัตถุดิบ การคัดเลือกเครื่องครัว ร้านอาหารเวลาเจอลูกค้าตำหนิมีวิธีรับมืออย่างไร อะไรประมาณนี้ ตรงนี้จะยิ่งทำให้ลูกค้า เริ่มมีอารมณ์ร่วมไปกับธุรกิจของเรา และยิ่งเป็นกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เราจะสื่อสารได้ชัดเจนมากขึ้นเข้าไปอีก

 

2.คุยเฟื่องเรื่องปัญหา

อีกมุมมองหนึ่งในการ Storytelling เราสามารถนำเรื่องของ pain point มาขยายได้ แต่ pain point ที่เราจะจับมาเป็นประเด็นในการเล่าตรงนี้ จะไม่เหมือนกับข้อแรก คือ เราไม่นำปัญหาของลูกค้ามาเล่า แต่เราจะเอาปัญหาในภาพใหญ่ของสังคม หรือ ในกลุ่มธุรกิจและตลาดเดียวกันทั้งหมดมาเล่า ยกตัวอย่างเช่นเป็นเรื่องของอุตสาหกรรม เราสามารถนำเรื่องราวของระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีการขนส่ง และนวัตกรรมระดับโลกที่ช่วยในเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมมาเล่าก็ได้ ว่าบริษัทระดับโลกเผชิญปัญหาอะไร และเขามีการใช้เทคโนโลยีอะไรในการแก้ไขปัญหา

storytelling-social-problem-and-innovationหากคุณทำธุรกิจในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อาจ Storytelling ในเรื่องของสุขภาพ คุณภาพชีวิตของคนในยุคนี้ เรื่องจริยธรรม จิตวิญญาณ สภาพแวดล้อม ฝุ่น PM 2.5 โลกร้อน หรือแม้กระทั่งเรื่องโควิดก็ยังได้ ถ้าคุณจะให้เกี่ยวข้องกับธุรกิจคุณก็อาจจะต้องมีการเลือกประเด็นที่สามารถเชื่อมโยงเข้ามาหาธุรกิจคุณได้ง่ายหน่อย เท่านี้คุณก็จะมีเรื่องเล่าไม่รู้จบแล้ว

 

3.ถ่ายทอดเรื่องราวความเด็ดของสินค้าและบริการโดยตรง

อีกหนึ่งวิธีสำหรับคนที่ไม่ชอบอ้อมค้อม ก็ให้คุณ Storytelling ถึงสินค้าและบริการคุณโดยตรงได้เลย บอกถึงข้อดีจุดเด่นของสินค้าและบริการ บอกเขาว่าสิ่งที่คุณมีช่วยให้ลูกค้าของคุณดีขึ้นอย่างไร แก้ปัญหาของพวกเขาในแง่ไหนได้บ้าง แต่ต้องบอกก่อนนะว่า การเล่าเรื่องแบบตรง ๆ เช่นนี้คุณเองก็จะต้องรู้จักตนเองดีจริง ๆ ต้องรู้ว่าสินค้าและบริการของคุณ แตกต่างและมีจุดไหนที่ไม่เหมือนใคร เพราะไม่เช่นนั้นเล่าไปก็ไม่อาจทำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจมาซื้อได้

กรณีที่สินค้าและบริการของคุณเป็นแนวตลาด คือ อาจจะไม่แตกต่างจากคู่แข่งเลย เหมือน ๆ กัน ลูกค้าจะเลือกซื้อกับเจ้าไหนก็ได้ ถ้าคุณต้องการให้เกิดความแตกต่างที่ดึงดูดลูกค้าได้ ก็อาจใช้การมี “เรื่องเล่า” นี่แหละ เป็นจุดเด่นสร้างความแตกต่างไปเลย จัดให้การเล่าเรื่องเป็นสิ่งหนึ่งในกลยุทธ์ Content Marketing ของคุณเท่านี้คุณก็จะมีสิ่งที่ดึงดูดลูกค้าได้และมีความแตกต่างจากคู่แข่งแล้ว

 

4.เล่าเรื่องแบบเน้นความจริงและความน่าเชื่อถือ

อีกวิธีหนึ่งในการ Storytelling ที่มีใช้กันมายาวนาน จนทุกวันนี้ก็ยังใช้กันอยู่ นั่นคือ การเล่าเรื่องแบบเจาะลึก ทุกคอนเทนต์ที่สื่อสารออกไป ล้วนจะต้องมีการค้นคว้าอย่างจริงจัง และจะต้องมีหลักฐานอ้างอิงยืนยันทุกอย่าง ยกตัวอย่างเช่นเล่าเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการตลาดของกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว คุณก็ควรจะต้องมี Static ข้อมูลว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงปี หรือช่วงไตรมาส มีการวิจัยหรือมีผลสำรวจอ้างอิง เป็นกราฟเป็นตัวเลขก็ว่ากันไป

หาก Storytelling เจาะจงมาที่ข้อดีของสินค้าก็ควรมีหลักฐานงานวิจัยมายืนยันการันตีความปลอดภัย หรือใช้แล้วได้ผล ในปัจจุบันนั้นเทคนิคที่ใช้กันบ่อยก็คือ “รีวิว” ก็ถือว่าเทคนิคนี้เป็นการเล่าเรื่องอย่างหนึ่งเหมือนกัน แม้ในวันนี้การรีวิวจะลดบทบาทลงไปมาก แต่ก็ยังคงมีพลังแฝงที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคคนถัด ๆ ไปอยู่ไม่น้อย

 

ทั้งหมดนี้เป็นไอเดียสำหรับการ Storytelling ในธุรกิจของคุณ ซึ่งคุณจะเห็นว่าถ้าถอดสมการนี้ออกมา ธุรกิจของคุณก็จะมีเรื่องเล่าที่หลากหลายแง่มุมเลยทีเดียว อาจจะเรียกว่าเล่าได้ไม่รู้จบกันเลย ลองนำไปปรับใช้กันดูนะ แล้วคุณจะเชื่อมโยงไปหาลูกค้าได้อย่างง่ายและสบายมากขึ้น